การอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าในภาคตะวันออกอย่างมีส่วนร่วม - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: การอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าในภาคตะวันออกอย่างมีส่วนร่วม (/showthread.php?tid=2285) |
การอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าในภาคตะวันออกอย่างมีส่วนร่วม - doa - 02-17-2017 การอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าในภาคตะวันออกอย่างมีส่วนร่วม ศิริพร วรกุลดำรงชัย, กรรณิการ์ เย็นนิกร, จงวัฒนา พุ่มหิรัญ, สุภาภรณ์ สาชาติ และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ สถาบันวิจัยพืชสวน และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช การอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าในภาคตะวันออกอย่างมีส่วนร่วม ได้ดำเนินการวิจัยในปี 2554 - 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การสืบต่อพันธุ์และการขยายพันธุ์ของพันธุ์กล้วยไม้ป่าในภาคตะวันออก ทั้งในแหล่งธรรมชาติ โดยการประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมให้ชุมชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการวิจัยและอนุรักษ์กล้วยไม้ป่า ผลจากการดำเนินการโครงการฯ อย่างต่อเนื่องและจริงจัง จึงได้รับความร่วมมือจากทางอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง โรงเรียน และชุมชนในพื้นที่เป็นอย่างดี ทำให้สามารถอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าหวายแดงจันทบูร และเหลืองจันบูร โดยชุมชนมีส่วนร่วมประสบความสำเร็จ หวายแดงจันทบูรจำนวนมากกว่า 5,000 ต้น และเหลืองจันทบูร จำนวนมากกว่า 10,000 ต้น ได้มีการกระจายพันธุ์และเพิ่มจำนวนในพื้นที่สภาพนอกแหล่งธรรมชาติ (Ex situ conservation) บนอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง นับแต่นี้ จึงไม่มีการนำต้นกล้วยไม้หวายแดงจันทบูรและเหลืองจันบูรออกจากป่าอีกทั้งในปัจจุบันและอนาคต เนื่องจากหน่วยงานราชการ โรงเรียน และชุมชนบนอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างมีส่วนร่วมในการดำเนินการอนุรักษ์ โดยการเริ่มปลูกต้นกล้วยไม้เหล่านี้ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนกระทั่งต้นกล้วยไม้ออกดอกสวยงามและบานสะพรั่งไปทั่วเกาะช้าง การตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของการอนุรักษ์หวายแดงจันทบูรและเหลืองจันทบูร จะทำให้ชุมชนเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าชนิดอื่นๆ ด้วย จึงทำให้การอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าในภาคตะวันออกเป็นไปอย่างยั่งยืน
|