การสำรวจและรวบรวมกล้วยไม้ป่าในภาคตะวันออก - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: การสำรวจและรวบรวมกล้วยไม้ป่าในภาคตะวันออก (/showthread.php?tid=2284) |
การสำรวจและรวบรวมกล้วยไม้ป่าในภาคตะวันออก - doa - 02-17-2017 การสำรวจและรวบรวมกล้วยไม้ป่าในภาคตะวันออก ศิริพร วรกุลดำรงชัย, กรรณิการ์ เย็นนิกร, จงวัฒนา พุ่มหิรัญ และสุภาภรณ์ สาชาติ สถาบันวิจัยพืชสวน และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช การสำรวจ และรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ป่าในภาคตะวันออก ในระหว่างปี 2554 - 2557 ได้รวบรวมพันธุ์เชื้อพันธุกรรมกล้วยไม้ป่าจากแหล่งพันธุกรรมท้องถิ่น (On farm) และสภาพถิ่นเดิม (In situ) และรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ป่าไว้ในโรงเรือนกล้วยไม้ของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีได้ไม่น้อยกว่า 825 ตัวอย่าง ทำการจำแนกกล้วยไม้ป่าตามระบบของ R.L.Dressler ได้ 5 วงศ์ย่อย 50 สกุล จำนวน 102 ชนิด ดังนี้
1. วงศ์ย่อย Cypripedioideae จำนวน 1 สกุล 1 ชนิด2. วงศ์ย่อย Neottioideae จำนวน 1 สกุล 1 ชนิด 3. วงศ์ย่อย Orchidioideae จำนวน 1 สกุล 2 ชนิด 4. วงศ์ย่อย Epidendroideae จำนวน 21 สกุล 64 ชนิด 5. วงศ์ย่อย Vandoideae จำนวน 26 สกุล 34 ชนิด ผลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นฐานข้อมูลกล้วยไม้ป่าในภาคตะวันออก สำหรับใช้ในการวางแผนการใช้ประโยชน์ควบคู่กับการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าอย่างยั่งยืนต่อไป
|