การพัฒนาระบบการปลูกกล้วยไม้สกุลแวนดา - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: การพัฒนาระบบการปลูกกล้วยไม้สกุลแวนดา (/showthread.php?tid=2280) |
การพัฒนาระบบการปลูกกล้วยไม้สกุลแวนดา - doa - 02-08-2017 การพัฒนาระบบการปลูกกล้วยไม้สกุลแวนดา ธัญพร งามงอน, จิตอาภา จิจุบาล, กำพล เมืองโคมพัส และเยาวภา เต้าชัยภูมิ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ การพัฒนารูปแบบการปลูกกล้วยไม้สกุลแวนด้าให้เหมาะสมสำหรับเป็นกล้วยไม้กระถาง ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงแพชรบูรณ์ ดำเนินการระหว่างปี 2554 – 2557 วางแผนการทดลอง แบบ 2 x 3 Factorial in CRD (Completely Randomized Design) มี 6 ซ้ำ 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 ชนิดของกระถางขนาด 6 นิ้ว ได้แก่ กระถางพลาสติกใส และกระถางพลาสติกดำ ปัจจัยที่ 2 วัสดุปลูกชนิดต่างๆ ได้แก่ กาบมะพร้าวสับ สแฟกนัมมอส และขุยมะพร้าว จำนวน 6 กรรมวิธี ดังนี้ 1) กระถางพลาสติกใส : กาบมะพร้าวสับเล็ก 2) กระถางพลาสติกใส : สแฟกนัมมอส 3) กระถางพลาสติกใส : ขุยมะพร้าว 4) กระถางพลาสติกดำ : กาบมะพร้าวสับเล็ก 5) กระถางพลาสติกดำ : สแฟกนัมมอส 6) กระถางพลาสติกดำ : ขุยมะพร้าวอัตรา 1:1 ปลูกเลี้ยงในโรงเรือนพรางแสง 50% พบว่ากล้วยไม้สกุลแวนด้าในทุกกรรมวิธีมีเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอด 100% วัสดุปลูกทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ กาบมะพร้าวสับ สแฟกนัมมอส และขุยมะพร้าว ทำให้จำนวนใบ ความสูงต้น ความกว้างใบ ความยาวใบจำนวนรากความยาวรากความหนารากจำนวนช่อดอก และจำนวนดอกแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ส่วนชนิดของกระถางไม่มีความแตกต่างทางสถิติในทุกกรรมวิธีของการเจริญเติบโต
|