คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ผลชอง NAA (Naphthyl acetic Acid) ที่มีต่อการเพิ่มผลผลิตมะพร้าวน้ำหอม - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7)
+--- เรื่อง: ผลชอง NAA (Naphthyl acetic Acid) ที่มีต่อการเพิ่มผลผลิตมะพร้าวน้ำหอม (/showthread.php?tid=2274)



ผลชอง NAA (Naphthyl acetic Acid) ที่มีต่อการเพิ่มผลผลิตมะพร้าวน้ำหอม - doa - 02-08-2017

ผลชอง NAA (Naphthyl acetic Acid) ที่มีต่อการเพิ่มผลผลิตมะพร้าวน้ำหอม
ทิพยา ไกรทอง, ปริญดา หรูนหีม, หยกทิพย์ สุดารีย์ และอรพิน  หนูทอง 
ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร, สถาบันวิจัยพืชสวน  และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7

          NAA (Naphthyl acetic Acid) เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตประเภท Auxin เป็นสารอินทรีย์ช่วยกระตุ้นให้ระบบรากเจริญเติบโตได้ดี เร่งการเกิดรากของกิ่งตอน ทารอยแผลหลังการตัดแต่งกิ่ง และการเปลี่ยนเพศดอก (พีรเดช, 25) ซึ่งการนำ NAA มาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตมะพร้าวน้ำหอม  ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี โดยกรรมวิธีที่ 1 ให้น้ำเปล่าทางราก (กรรมวิธีควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 ให้ฮอร์โมน NAA ความเข้มข้น  30 ppm ฉีดพ่นที่จั่น กรรมวิธีที่ 3 ให้ฮอร์โมน NAA ความเข้มข้น   20 ppm ทางราก   กรรมวิธีที่ 4 ให้ฮอร์โมน NAA ความเข้มข้น   40 ppm ทางราก  กรรมวิธีที่ 5 ให้ฮอร์โมน NAA ความเข้มข้น   60 ppm ทางราก และ กรรมวิธีที่ 6 ให้ฮอร์โมน NAA ความเข้มข้น   80  ppm ทางราก ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีการให้ NAA ทางรากอัตรา 80 ppm ทำให้การเจริญเติบโต เช่น ขนาดรอบโคน จำนวนทางใบเพิ่ม และผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมเฉลี่ยมากที่สุด (149.40 ผล/ต้น/ปี) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ 2 แล้วพบว่า ผลผลิตเฉลี่ยใกล้เคียงกัน รวมทั้งด้านการเจริญเติบโต และส่วนประกอบของผล ไม่แตกต่างกัน การให้ NAA 80 ppm เป็นการเพิ่มต้นทุนและปริมาณของ NAA ส่วนกรรมวิธีการให้ NAA 30 ppm ฉีดพ่นที่จั่นเมื่อจั่นเริ่มแตก ผลผลิตน้อยกว่ากรรมวิธีการให้ทางราก  ดังนั้นการให้ NAA ทางรากมะพร้าวสามารถดูดใช้ NAA ได้เร็วกว่าการฉีดพ่นที่จั่น เพราะการฉีดพ่นที่จั่นอาจเป็นสาเหตุทำให้ละอองเกสรตัวผู้ร่วงก่อนได้รับการผสม ส่งผลให้ผลผลิตลดลงเช่นกัน