คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การค้นหาชิ้นส่วนของสารพันธุกรรม ยีน ที่ควบคุมความหอมของมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวน้ำหอม - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7)
+--- เรื่อง: การค้นหาชิ้นส่วนของสารพันธุกรรม ยีน ที่ควบคุมความหอมของมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวน้ำหอม (/showthread.php?tid=2273)



การค้นหาชิ้นส่วนของสารพันธุกรรม ยีน ที่ควบคุมความหอมของมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวน้ำหอม - doa - 02-08-2017

การค้นหาชิ้นส่วนของสารพันธุกรรม ยีน ที่ควบคุมความหอมของมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวน้ำหอมกะทิ
วีรา คล้ายพุก, ปริญดา หรูนหีม, วิไลวรรณ ทวิชศรี, ศุจิรัตน์ สงวนรังศิริกุล, ทิพยา ไกรทอง และสมชาย วัฒนโยธิน
สถาบันวิจัยพืชสวน, ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร และศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น

          ในการสกัดดีเอ็นเอมะพร้าวน้ำหอม Reaction mix ที่เหมาะสม คือ H2O 7.6 µl, 10X buffer 1.5 µl, 2.5 mMdNTP mix 1.2 µl, 25 mM MgCl2 0.9 µl, 10 µM F1 Primer 0.3µl, 10 µM R1 Primer0.3 µl, Taq polymerase 0.2 µl ดีเอ็นเอต้นแบบ 3 µl และ Condition PCR ที่เหมาะสมคือ Pre denaturation ที่อุณหภูมิ 94 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที จำนวน 1 รอบ Denaturation ที่อุณหภูมิ 94 องศาเซลเซียส นาน 40 วินาที จำนวน 35 รอบ Annealing ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที จำนวน 35 รอบ Extension ที่อุณหภูมิ 72 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที จำนวน 35 รอบ และ Long Extension ที่อุณหภูมิ 72 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที โดย Aromarker มีความจำเพาะเจาะจงกับยีนในข้าวหอมมะลิ แต่ไม่จำเพาะเจาะจงกับมะพร้าวน้ำหอมและใบเตย