การคัดเลือกสายต้นทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์ดีในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: การคัดเลือกสายต้นทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์ดีในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง (/showthread.php?tid=2265) |
การคัดเลือกสายต้นทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์ดีในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง - doa - 02-01-2017 การคัดเลือกสายต้นทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์ดีในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง สุวรรณ ทิพย์เมืองพรหม และนรินทร์ พูลเพิ่ม สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 การคัดเลือกสายต้นทุเรียนพื้นเมืองที่มีลักษณะดีเด่น เพื่อการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ และแนะนำพันธุ์ให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้ามากขึ้น ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 – 2558 โดยทำการสำรวจและคัดเลือกสายต้นทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์ดี ในแหล่งปลูกที่สำคัญในเขตภาคเหนือตอนล่างที่จังหวัด อุตรดิตถ์ สุโขทัย โดยใช้เกณฑ์ ในการคัดเลือก คือ เนื้อผลมีรสชาติดี เนื้อมีสีเหลืองเข้ม สีสวย เนื้อหนา เมล็ดลีบ ผลมีขนาดใหญ่ โดยคัดเลือกได้สายต้นดีเด่นพบว่ามีทั้งสิ้น 15 สายต้น พบในเขตพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 13 สายต้น สุโขทัย จำนวน 2 สายต้น สำหรับสายต้นที่ดีเด่นที่สุดด้านขนาดทรงผลใหญ่ น้ำหนักผลสุกมากกว่า 1.5 กิโลกรัมขึ้นไป รสชาติดี เนื้อมากเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค มีจำนวน 5 สายต้น คือ สายต้น อต.04 มีน้ำหนักผลสุก เฉลี่ย 2.3 กิโลกรัม ขนาดของผลเฉลี่ยกว้าง 17.5 ซม. ยาว 20 ซม. สีผิวผลสุก (YG152A) ทรงผลรูปไข่กลับ รูปทรงหนามนูน สีเนื้อมีสีเหลือง (YO23B) เนื้อละเอียด มีเปอร์เซ็นต์ความหวานเฉลี่ย 29.6 องศาบริกซ์ รสชาติหวานมัน แหล่งปลูกอยู่ที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ รองมาเป็น สท.04 มีน้ำหนักผลสุก เฉลี่ย 2.1 กิโลกรัม ขนาดของผลเฉลี่ยกว้าง 17 ซม. ยาว 24 ซม. สีผิวผลสุก (YG152A) รูปทรงผลกลมรี รูปทรงหนามโค้งงอ สีเนื้อ (Y10D) เนื้อละเอียด มีเปอร์เซ็นต์ความหวานเฉลี่ย 27.1 องศาบริกซ์ รสชาติหวานมัน แหล่งปลูกอยู่ที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย อต.46 มีน้ำหนักผลสุก เฉลี่ย 1.9 กิโลกรัม ขนาดของผลเฉลี่ยกว้าง 15 ซม. ยาว 18 ซม. สีผิวผลสุก (YG152B) รูปทรงผลขอบขนาน รูปทรงหนามนูนปลายแหลม สีเนื้อ (GY160B) เนื้อละเอียด มีเปอร์เซ็นต์ความหวานเฉลี่ย 33.4 องศาบริกซ์ รสชาติมันมากกว่าหวาน แหล่งปลูกอยู่ที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ อต.19 มีน้ำหนักผลสุก เฉลี่ย 1.8 กิโลกรัม ขนาดของผลเฉลี่ยกว้าง 15 ซม. ยาว 18 ซม.สีผิวผลสุก (GN138C) รูปทรงผลขอบขนาน รูปทรงหนามนูนปลายแหลม สีเนื้อ (YG5D) เนื้อละเอียด มีเปอร์เซ็นต์ความหวานเฉลี่ย 29.8 องศาบริกซ์ รสชาติมันมากกว่าหวาน แหล่งปลูกอยู่ที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ อต.06 มีน้ำหนักผลสุก เฉลี่ย 1.5 กิโลกรัม ขนาดของผลเฉลี่ยกว้าง 15 ซม. ยาว 20.5 ซม. สีผิวผลสุก (Y13B) รูปทรงผลขอบขนาน รูปทรงหนามนูนปลายแหลม สีเนื้อ (Y13B) เนื้อละเอียด มีเปอร์เซ็นต์ความหวานเฉลี่ย 35.3 องศาบริกซ์ รสชาติมันมากกว่าหวาน แหล่งปลูกอยู่ที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
|