เปรียบเทียบเทคนิค suspension culture และ temporary immersion ในการขยายพันธุ์สับปะรด - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: เปรียบเทียบเทคนิค suspension culture และ temporary immersion ในการขยายพันธุ์สับปะรด (/showthread.php?tid=2255) |
เปรียบเทียบเทคนิค suspension culture และ temporary immersion ในการขยายพันธุ์สับปะรด - doa - 02-01-2017 เปรียบเทียบเทคนิค suspension culture และ temporary immersion ในการขยายพันธุ์สับปะรด ชยานิจ ดิษฐบรรจง, กษิดิศ ดิษฐบรรจง และภุมรินทร์ วณิชชนานันท์ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ทำการศึกษาเปรียบเทียบการเพิ่มปริมาณยอดอ่อนสับปะรดในอาหารเหลว (suspension culture) และระบบ temporary immersion bioreacter (TIB) โดยดำเนินการในสัปปะรด 2 พันธุ์ พบว่าสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียสามารถเพิ่มปริมาณยอดอ่อนสูงสุด 22.4 เท่า ในอาหารเหลว MS ที่ประกอบด้วย BA 3 μM พันธุ์เพชรบุรีสามารถเพิ่มปริมาณยอดอ่อนได้ 18 - 19 เท่า ในอาหารเหลว MS ที่ประกอบด้วย BA 3 - 6 μM ร่วมกับ NAA 2 μM ภายในเวลา 8 สัปดาห์ โดยที่ยอดอ่อนที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่มีการพัฒนาเป็นราก ต้องชักนำให้เกิดราก บนอาหารแข็ง MS ที่เติม IBA 2 - 6 μM ส่วนการเลี้ยงเพิ่มปริมาณยอดอ่อนในระบบ TIB ในระยะเวลาที่เท่ากัน สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย สามารถเพิ่มจำนวนยอดรวมสูงสุด 18.2 เท่าเมื่อใช้อาหาร MS เติม BA 3 µM ในขณะที่พันธุ์เพชรบุรีสามารถเพิ่มจำนวนยอดรวมได้ 16.4 - 15.6 เท่า เมื่อได้รับอาหาร MS ที่มี BA 3 และ 6 µM ร่วมกับ NAA 2 µM ตามลำดับ โดยมีระยะเวลาให้อาหารสัมผัสชิ้นส่วนพืช 6 - 8 ครั้ง ต่อวัน ครั้งละ 1 นาที จะให้ผลต่อการเพิ่มปริมาณยอดรวมสูงสุด ในขณะที่การเลี้ยงบนอาหารแข็งจะเพิ่มปริมาณได้เพียง 3 - 4 เท่า
เมื่อเปรียบเทียบการเพิ่มปริมาณยอดรวมในอาหารเหลว และระบบ TIB จำนวนยอดรวมที่เกิดจากการเลี้ยงในอาหารเหลวจะมากกว่าในระบบ TIB เล็กน้อย เนื่องจากชิ้นส่วนของสับปะรด จะสัมผัสกับสารอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตอยู่ตลอดเวลา ทำให้ดูดซึมอาหารได้ดีกว่าซึ่งส่งผลให้จำนวนยอดรวมเพิ่มสูงสุด แต่การเลี้ยงในอาหารเหลวไม่มีการพัฒนาของราก ต้องนำไปชักนำให้เกิดรากก่อนลงปลูก และยังต้องเปลี่ยนถ่ายอาหารทุก 2 - 3 สัปดาห์ ทำให้สิ้นเปลืองแรงงาน ในขณะที่การเลี้ยงในระบบ TIB ถึงแม้ว่าจะให้ปริมาณยอดรวมได้น้อยกว่าการเลี้ยงในอาหารเหลวเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายอาหารเลยตลอด 8 สัปดาห์ และนอกจากนี้ยังพบการพัฒนาของรากเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งสามารถนำออก acclimatize ในสภาพโรงเรือนได้เลยและมีอัตราการรอดชีวิตสูงถึง 89 - 90 % เหมาะสำหรับการนำไปขยายผลเพื่อการขยายพันธุ์ปริมาณมากๆ
|