คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การปรับปรุงพันธุ์งาต้านทานโรคราแป้ง : การเปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้น - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7)
+--- เรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์งาต้านทานโรคราแป้ง : การเปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้น (/showthread.php?tid=2236)



การปรับปรุงพันธุ์งาต้านทานโรคราแป้ง : การเปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้น - doa - 01-31-2017

การปรับปรุงพันธุ์งาต้านทานโรคราแป้ง : การเปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้น
จุไรรัตน์ หวังเป็น, สมใจ โควสุรัตน์, ธำรง เชื้อกิตติศักดิ์ และสมหมาย วังทอง

          ทำการศึกษาเมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่ได้จากแปลงการสร้างประชากร เพื่อใช้ในการสืบค้นยีนโดยใช้เทคนิคชีวโมเลกุลสำหรับคัดเลือกพันธุ์งาต้านทานโรคราแป้ง จำนวน 10 สายพันธุ์ และพันธุ์เปรียบเทียบ 5 พันธุ์/สายพันธุ์ ได้แก่ GMUB1 มหาสารคาม60 อุบลราชธานี1 อุบลราชธานี2 และร้อยเอ็ด1 แผนการทดลอง Randomized Complete Block Design จำนวน 2 ซ้ำ ขนาดแปลงย่อย 2 x 7 เมตร ผลการทดลองปี 2556 พบว่า สายพันธุ์ GMUB1 มีระดับความรุนแรงของการเกิดโรค ระดับต้านทาน มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคต่ำที่สุด คือ 6.54 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับอีก 9 พันธุ์/สายพันธุ์ ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 6.87 - 37.45 เปอร์เซ็นต์ และสายพันธุ์ที่มีระดับความรุนแรงของการเกิดโรค ระดับต้านทาน คือ PMG55-07 PMG55-08 PMG55-13 PGM55-45 และ PGM55-58 ส่วนผลผลิตได้รับความเสียหายจากโรคเน่าดำไหม้ดำทำให้ไม่สามารถที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ การทดลอง ปี 2557 เนื่องจากในปี 2556 ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้จึงทำให้เหลือสายพันธุ์งาที่ใช้ในการคัดเลือกเพียง 8 สายพันธุ์ เปรียบเทียบกับงา 5 พันธุ์/สายพันธุ์ ผลการทดลองพบว่า สายพันธุ์ GMUB1 มีระดับความรุนแรงของการเกิดโรค ระดับต้านทาน มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคต่ำที่สุด คือ 0.87 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับสายพันธุ์ PGM55-45 (3 เปอร์เซ็นต์) PGM55-35 (4.67 เปอร์เซ็นต์) และ PUG55-47 (9 เปอร์เซ็นต์) และสายพันธุ์ที่มีระดับความรุนแรงของการเกิดโรค ระดับต้านทาน คือ สายพันธุ์ PUG55-47 PGM55-35 PGM55-45 และ PGM55-58 ส่วนผลผลิตพบว่า สายพันธุ์ PUG55-47 มีน้ำหนักผลผลิตสูงที่สุด คือ 44 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับอีก 5 พันธุ์/สายพันธุ์ ได้แก่ งาแดงอุบลราชธานี1  PGM55-45 งาขาวอุบลราชธานี2 งาขาวมหาสารคาม60 และงาขาว GMUB1 น้ำหนักผลผลิต ได้แก่ 39.5 19.5 16.0 15.5 และ 13.0 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ น้ำหนัก 1,000 เมล็ด พบว่าสายพันธุ์ PGM55-30 มีน้ำหนักมากที่สุด คือ 3.00 กรัม แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับอีก 4 พันธุ์/สายพันธุ์ ได้แก่ งาขาวมหาสารคาม 60 (2.89 กรัม) PGM55-45 (2.84 กรัม) PGM55-22 (2.84 กรัม) และงาขาว GMUB1 (2.81 กรัม)