ทดสอบพันธุ์ถั่วเขียวผิวมันที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดแพร่ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: ทดสอบพันธุ์ถั่วเขียวผิวมันที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดแพร่ (/showthread.php?tid=2221) |
ทดสอบพันธุ์ถั่วเขียวผิวมันที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดแพร่ - doa - 01-20-2017 ทดสอบพันธุ์ถั่วเขียวผิวมันที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดแพร่ มณทิรา ภูติวรนาถ, ประนอม ใจอ้าย, สุทธินี เจริญคิด, รณรงค์ คนชม, คณิศร มนุษย์สม และสากล มีสุข ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ การทดลองทดสอบพันธุ์ถั่วเขียวผิวมันที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดแพร่ ได้ดำเนินการทดลองที่แปลงเกษตรกรตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ จำนวน 5 ราย ดังนี้ 1.นายพร้อม ปาโผ 2.นายสมพร ฟองอ่อน 3.นายบุญ มยาระ 4.นางแสงจันทร์ คำปินตา 5.นางนิษาชล ดวงเจริญพงศ์ วางแผนการทดลองแบบ RCB จำวนวน 2 ซ้ำ ใช้ถั่วเขียวผิวมันพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรจำนวน 3 พันธุ์ คือ พันธุ์ชัยนาท 84-1, ชัยนาท 36 และ ชัยนาท 72 เปรียบเทียบกับพันธุ์ที่เกษตรกรใช้ คือ พันธุ์กำแพงแสน 2 ปลูกโดยวิธีการหว่าน อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ พรวนกลบทันที ปฏิบัติดูแลรักษาตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม โดยใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปลูก กำจัดวัชพืชใช้โฟมีซาเฟนผสมฟลูอะซิฟอบ-พี-บิวทิล 160 + 160 ซีซีต่อไร่ ปลูกแบบอาศัยน้ำฝน เก็บเกี่ยวในพื้นที่ 2 x 3 เมตร พบว่าความสูงเฉลี่ย จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก และความยาวฝักของถั่วเขียวผิวมันทั้ง 4 พันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนในด้านผลผลิต พบว่า ถั่วเขียวพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรทั้ง 3 พันธุ์ มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงกว่าพันธุ์กำแพงแสน 2 และเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียวในพื้นที่จังหวัดแพร่ โดยเฉพาะพันธุ์ชัยนาท 84-1 ซึ่งเป็นพันธุ์รับรองของกรมวิชาการเกษตรเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระชนพรรษา 84 พรรษา เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ที่เกษตรกรใช้อยู่ และเมล็ดมีขนาดใหญ่ สีสวย อีกทั้งยังสามารถปลูกได้ในทุกสภาพพื้นที่
|