การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์ปราศจากกลิ่นถั่วเพื่อผลิตน้ำนม - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์ปราศจากกลิ่นถั่วเพื่อผลิตน้ำนม (/showthread.php?tid=2189) |
การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์ปราศจากกลิ่นถั่วเพื่อผลิตน้ำนม - doa - 01-20-2017 การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์ปราศจากกลิ่นถั่วเพื่อผลิตน้ำนม สุรศักดิ์ วัฒนพันธุ์สอน, อ้อยทิน จันทร์เมือง, วิภารัตน์ ดำริเข้มตระกูล, ศิริวรรณ อำพันฉาย, อานนท์ มะลิพันธุ์, พินิจ กัลยาศิลปิน, รณรงค์ คนชม, วีระศักดิ์ เทพจันทร์ และชัยณรงค์ จันทร์แสนตอ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย, ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย, ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปราจีนบุรี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ และศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองปราศจากกลิ่นเพื่อผลิตน้ำนมได้ทำการผสมพันธุ์ถั่วเหลืองโดยผสมข้ามพันธุ์ด้วยวิธีธรรมชาติจำนวน 6 คู่ผสม เมื่อปี พ.ศ. 2546 และปลูกคัดเลือก ชั่วที่1 (F1) ถึงชั่วที่7 (F7) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึงปี พ.ศ. 2550 ปี พ.ศ. 2551 ปลูกขยายเมล็ดพันธุ์ลูกผสม และคัดเลือกสายพันธุ์ก้าวหน้าไว้จำนวน 49 สายพันธุ์ ฤดูแล้ง ปี พ.ศ. 2552 ปลูกเปรียบเทียบเบื้องต้นคัดเลือกได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะดีเด่นด้านผลผลิต องค์ประกอบผลผลิตและลักษณะทางการเกษตร ได้จำนวน 26 สายพันธุ์ ปี 2552 ปลูกเปรียบเทียบเบื้องต้น ทำการคัดเลือกไว้ได้จำนวน 10 สาย ฤดูแล้งและฤดูฝนปี 2554 และ 2555 ปลูกเปรียบเทียบในท้องถิ่น โดยมีพันธุ์มาตรฐาน เชียงใหม่60 และ สจ.5 เป็นพันธุ์ตรวจสอบ คัดเลือกไว้จำนวน 6 สายพันธุ์ ตรวจสอบคุณภาพน้ำนมจากห้องปฏิบัติการของบริษัท กรีน สปอร์ต และจากการทดสอบโดยใช้ประสาทสัมผัส (ต้มชิม) คัดเลือกไว้จำนวน 4 สายพันธุ์ เพื่อปลูกเปรียบเทียบในขั้นตอนการเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร ฤดูแล้งและฤดูฝน ปี 2557 ได้แก่ ssr0303-1-1-1, ssr0303-1-1-6, ssr0303-2-2-1 และ ssr0304-2-3-5 ฤดูแล้งพบว่า สายพันธุ์.ssr0303-1-1-1 ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตสูงที่สุด คือ 320 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ตรวจสอบ สจ.5 ที่มีผลผลิตเฉลี่ยที่ 271 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่สายพันธุ์อื่นๆ ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์ตรวจสอบ น้ำหนัก 100 เมล็ด พบว่าสายพันธุ์ก้าวหน้า ssr0303-2-2-1 และ ssr0304-2-3-5 มีน้ำหนักเมล็ดสูงสุด คือ 14.1 และ 13.2 กรัม ตามลำดับ ฤดูฝนก็พบว่า สายพันธุ์ ssr0303-1-1-1 ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตสูงที่สุด คือ 320 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา คือ สายพันธุ์ ssr0304-2-3-5 ให้ผลผลิตเฉลี่ยที่ 280 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนัก 100 เมล็ด พบว่าพันธุ์ตรวจสอบเชียงใหม่ 60 มีน้ำหนักมากที่สุด คือ 14.3 กรัม ด้านคุณภาพน้ำนมจากการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการของบริษัท กรีน สปอร์ต พบว่า สายพันธุ์ก้าวหน้ามีลักษณะของคุณภาพน้ำนมมีสีขาวนวล มีกลิ่นเหม็นหืน และมีปริมาณโปรตีนในเมล็ดในระดับใกล้เคียงกับพันธุ์ตรวจสอบตั้งแต่ 36 - 40 % แต่มีรสชาติขม ไม่ผ่านมาตรฐานน้ำนมของบริษัท พันธุ์ตรวจสอบเชียงใหม่60 มีโปรตีนในเมล็ดต่ำ 35% จึงไม่ผ่านมาตรฐาน ขณะที่พันธุ์ สจ.5 เป็นพันธุ์เดียวที่ผ่านมาตรฐานการแปรรูปน้ำนม
|