การควบคุมไรศัตรูมันสำปะหลังโดยชีววิธี - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: การควบคุมไรศัตรูมันสำปะหลังโดยชีววิธี (/showthread.php?tid=2165) |
การควบคุมไรศัตรูมันสำปะหลังโดยชีววิธี - doa - 01-13-2017 การควบคุมไรศัตรูมันสำปะหลังโดยชีววิธี อมรรัชฎ์ คิดใจเดียว, มานิตา คงชื่นสิน, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง, อัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล และอทิติยา แก้วประดิษฐ์ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ดำเนินการทดสอบการใช้ไรตัวห้ำ Neoseiulus (=Amblyseius) longispinosus (Evans) ควบคุมไรแดงมันสำปะหลัง, Tetranychus truncatus Ehara ในสภาพโรงเรือนทดลองที่สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรุงเทพ และทดสอบในสภาพไร่ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง และศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ ในปี 2555 - 2557 ผลการทดลองพบว่า การปล่อยไรตัวห้ำเพื่อควบคุมไรแดงมันสำปะหลังได้ผลดีในการทดสอบสภาพโรงเรือน แต่เมื่อขยายผลการทดสอบปล่อยไรตัวห้ำในสภาพไร่พบว่า ยังไม่ประสบผลสำเร็จ การศึกษาผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อด้วงตัวห้ำ Stethorus pauperculus (Weise) ทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการของ
กลุ่มกีฏและสัตววิทยาพบว่า สารที่ไม่มีพิษต่อด้วงตัวห้ำ ได้แก่ amitraz 20%EC, pyridaben 20%WP และ white oil 67%EC สารมีพิษน้อยต่อด้วงตัวห้ำ ได้แก่ dicofol 18.5%EC ส่วนสารมีพิษร้ายแรงต่อด้วงตัวห้ำ ได้แก่ thiamethoxam 25%WG, imidacloprid 70%WG, dinotefuran 10%WG, thiamethoxam/lambda-cyhalathrin 24.7%ZC และ malathion 83%EC
|