การศึกษาพัฒนาการ การเจริญเติบโต และค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมของมันสำปะหลัง - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: การศึกษาพัฒนาการ การเจริญเติบโต และค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมของมันสำปะหลัง (/showthread.php?tid=2160) |
การศึกษาพัฒนาการ การเจริญเติบโต และค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมของมันสำปะหลัง - doa - 01-13-2017 การศึกษาพัฒนาการ การเจริญเติบโต และค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมของมันสำปะหลังพันธุ์ก้าวหน้าชุดที่ 2 วรยุทธ ศิริชุมพันธ์ และมณี หาชานนท์ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลพัฒนาการ การเจริญเติบโต และค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมของมันสำปะหลังพันธุ์ก้าวหน้าชุดที่ 2 ประกอบด้วย 3 สายพันธุ์ คือ R 86-13 CMR 49-54-67 และ OMR 45-27-76 ดำเนินการทดลองทั้งในฤดูฝนและปลายฤดูฝน ระหว่างปี 2556 ถึงปี 2557 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น บันทึกข้อมูลพัฒนาการ และการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังคุณสมบัติทางเคมีของดิน สภาพภูมิอากาศ และการจัดการ จากแปลงฤดูฝนปี 2556 และปลายฤดูฝนปี 2556 2 ฤดู แล้วนำมาประมาณค่าสัมประสิทธิ์พันธุกรรมของมันสำปะหลัง และปรับค่าสัมประสิทธิ์พันธุกรรมแต่ละสายพันธุ์ (Model calibration) จนได้ค่าสัมประสิทธิ์พันธุกรรมที่สามารถให้ค่าทำนายลักษณะต่างๆ ทั้งการพัฒนาการ และการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังใกล้เคียงกับค่าสังเกต
ผลการทดลองพบว่า ลักษณะด้านพัฒนาการ และด้านการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง มีค่าแตกต่างกันระหว่างพันธุ์และฤดูปลูก โดยฤดูปลายฝนจะมีระดับการแตกกิ่งและระยะเวลาพัฒนาการมากกว่าในฤดูฝน แต่ฤดูฝนจะมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าฤดูแล้ง ในฤดูฝน พันธุ์ R 86-13 ให้ค่าน้ำหนักหัวแห้งจากแบบจำลอง 1.91 ตันต่อไร่ ในขณะที่ให้ค่าสังเกตจากแปลงทดลองเป็น 1.93 ตันต่อไร่ โดยมีค่าความแตกต่างระหว่างค่าที่ได้จากแบบจำลองและค่าที่ได้จากแปลงทดลอง (Root Mean Square Error :RMSE) เท่ากับ 0.05 ตันต่อไร่ และมีค่า r2 เท่ากับ 0.99** ส่วนสายพันธุ์ CMR 49-54-67 ให้ค่าน้ำหนักหัวแห้งจากแบบจำลอง 1.78 ตันต่อไร่ ให้ค่าสังเกตจากแปลงทดลองเป็น 1.60 ตันต่อไร่ มีค่า RMSE เท่ากับ 0.16 ตันต่อไร่ และค่า r2 เท่ากับ 0.95** สำหรับสายพันธุ์ OMR 45-27-76 ให้ค่าน้ำหนักหัวแห้งจากแบบจำลอง 1.79 ตันต่อไร่ ค่าสังเกตจากแปลงทดลองเป็น 1.78 ตันต่อไร่ มีค่า RMSE เท่ากับ 0.24 ตันต่อไร่ และค่า r2 เท่ากับ 0.91**
แปลงปลายฤดูฝนพบว่า พันธุ์ R 86-13 ให้ค่าน้ำหนักหัวแห้งจากแบบจำลอง 2.02 ตันต่อไร่ ค่าสังเกตจากแปลงทดลอง 1.78 ตันต่อไร่ มีค่า RMSE เท่ากับ 0.15 ตันต่อไร่ และค่า r2 เท่ากับ 0.96** ส่วนสายพันธุ์ CMR 49-54-67 ให้ค่าน้ำหนักหัวแห้งจากแบบจำลอง 2.08 ตันต่อไร่ ค่าสังเกตจากแปลงทดลอง 2.51 ตันต่อไร่ มีค่า RMSE เท่ากับ 0.42 ตันต่อไร่ และค่า r2 เท่ากับ 0.89** สำหรับสายพันธุ์ OMR 45-27-76 ให้ค่าน้ำหนักหัวแห้งจากแบบจำลอง 1.93 ตันต่อไร่ ค่าสังเกตจากแปลงทดลอง 1.49 ตันต่อไร่ มีค่า RMSE เท่ากับ 0.29 ตันต่อไร่ และค่า r2 เท่ากับ 0.86** จากการทดลองทำให้ได้ข้อมูลพัฒนาการ การเจริญเติบโต และค่าสัมประสิทธิ์พันธุกรรมของพันธุ์มันสำปะหลัง 3 พันธุ์ จะได้ดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบผลการคาดคะเนของแบบจำลองกับแปลงทดลองอื่น เพื่อจะได้พัฒนาค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมดังกล่าวให้สามารถคาดคะเนผลผลิตมันสำปะหลังในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้แม่นยำยิ่งขึ้น
|