การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดตาก - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดตาก (/showthread.php?tid=2146) |
การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดตาก - doa - 01-12-2017 การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดตาก รุ่งทิวา ดารักษ์, ประยูร สมฤทธิ์ และรวีวรรณ เชื้อกิตติศักดิ์ การทดสอบและพัฒนาการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดตาก เริ่มการทดลองปี 2553 ดำเนินการปลูกอ้อยตามกรรมวิธีที่กำหนดในไร่เกษตรกร โดยปลูกพันธุ์/โคลนละ 1 ไร่ สำหรับวิธีทดสอบ ใช้ระยะ 1.30-1.50 x 0.50 เมตร หลุมละ 1 ท่อนๆ ละ 3 ตา ใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่พร้อมปลูก หรือใช้สารเคมี ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 โดยใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หลังปลูก 4 - 6 เดือน (ควรใส่ในช่วงที่ดินมีความชื้น) ปฏิบัติดูแลรักษาอ้อยปลูก อ้อยตอ 1 และอ้อยตอ 2 สำหรับวิธีเกษตรกร ให้เกษตรกรปลูกและปฏิบัติตามกรรมวิธีของเกษตรกร โดยนายมาลิ คำภักดี ใช้อ้อยพันธุ์ K99-72 นายเจริญ เสือบุญมี ใช้อ้อยพันธุ์ LK92-11 การจัดการปุ๋ย เหมือนกัน คือ ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่ออ้อยอายุ 4 - 6 เดือน และปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนเก็บเกี่ยว พบว่าแปลงที่ 1 นายมาลิ ในอ้อยปลูก เก็บเกี่ยววันที่ 20 ธ.ค. 54 พบว่ากรรมวิธีทดสอบ อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ให้ผลผลิต คุณภาพ และองค์ประกอบผลผลิต สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ยกเว้นขนาดลำ แต่ในอ้อยตอ 1 ให้ผลแตกต่างจากอ้อยปลูก โดยกรรมวิธีทดสอบ ให้ผลผลิต ผลผลิตน้ำตาล ความสูงลำ และขนาดลำ สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรร้อยละ 13 4 20 และ 7 ตามลำดับ ส่วนความหวาน จำนวนลำเก็บเกี่ยว และจำนวนลำ/กอ กรรมวิธีเกษตรกรสูงกว่ากรรมวิธีทดสอบร้อยละ 7 1 และ 15 ตามลำดับ ในอ้อยตอ 2 ในวันที่ 24 ธ.ค. 56 พบว่ากรรมวิธีเกษตรกร ให้ผลผลิต ความหวาน และผลผลิตน้ำตาลสูงกว่ากรรมวิธีทดสอบร้อยละ 2 12 และ 15 ตามลำดับ แต่เมื่อนำมาเฉลี่ย 3 ปี ทั้งอ้อยปลูก อ้อยตอ 1 และ ตอ 2 พบว่ากรรมวิธีทดสอบ ให้ผลผลิต ความหวาน และผลผลิตน้ำตาลสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรร้อยละ 10 7 และ 3 ตามลำดับ แปลงที่ 2 นายเจริญ ในอ้อยปลูกพบว่า กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิต ผลผลิตน้ำตาล จำนวนลำเก็บเกี่ยว ความสูง และขนาดลำ สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ร้อยละ 144 120 76 41 และ 2 ตามลำดับ แต่กรรมวิธีเกษตรกร อ้อยพันธุ์ LK92-11 หวานและแตกกอดีกว่ากรรมวิธีทดสอบ อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ร้อยละ 10 และ 30 ตามลำดับ ส่วนในอ้อยตอ 1 พบว่าเป็นไปในทำนองเดียวกันกับในอ้อยปลูกที่กรรมวิธีให้ผลผลิต ผลผลิตน้ำตาล และองค์ประกอบผลผลิต สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร กรรมวิธีเกษตรกรให้ความหวานสูงกว่าอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 กรรมวิธีทดสอบ ร้อยละ 4 ในอ้อยตอ 2 เก็บเกี่ยวในวันเดียวกัน พบว่ากรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิต ความหวาน และผลผลิตน้ำตาลสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรร้อยละ 9 12 และ 19 ตามลำดับ และเมื่อนำมาเฉลี่ย 3 ปี ทั้งอ้อยปลูก อ้อยตอ 1 และ อ้อยตอ 2 พบว่ากรรมวิธีทดสอบ ให้ผลผลิต และผลผลิตน้ำตาลสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรร้อยละ 60 และ 54 ตามลำดับ ส่วนความหวานไม่แตกต่างกัน
|