คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7)
+--- เรื่อง: การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ (/showthread.php?tid=2145)



การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ - doa - 01-12-2017

การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, ยงศักดิ์ สุวรรณเสน  และรวีวรรณ เชื้อกิตติศักดิ์

          การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย 2 กรรมวิธี คือ  1. วิธีทดสอบ ใช้พันธุ์ขอนแก่น 3 และใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร 2. วิธีเกษตรกร โดยใช้พันธุ์และปฏิบัติดูแลรักษาตามวิธีเกษตรกร ดำเนินการในแปลงเกษตรกรอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 2 แปลง ระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี 2554 - 2556 ผลการทดสอบพบว่า แปลงที่ 1 ของนายตุ่น  ยุทธยงค์  วิธีทดสอบ ให้ ผลผลิต คุณภาพ และองค์ประกอบผลผลิตเฉลี่ย ของทั้งอ้อยปลูก อ้อยตอ1 อ้อยตอ 2 สูงกว่าวิธีเกษตรกร  โดยให้ผลผลิต ความหวาน ผลผลิตน้ำตาล ความสูง จำนวนลำ/กอ และน้ำหนักลำ เท่ากับ 14.57 ตัน/ไร่ 15.96 ซีซีเอส 2.33 ตันซีซีเอส/ไร่ 299 เซนติเมตร 4.0 ลำ/กอ และ 1.98 กก./ลำ ตามลำดับ สูงกว่าคิดเป็นร้อยละ23 18 44 17 23    และ 40  ตามลำดับ และทั้งสองกรรมวิธีให้ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์คุ้มค่าแก่การลงทุน คือ BCR เท่ากับ 141 และ 1.43 ตามลำดับ (BCR >1 คุ้มค่าแก่การลงทุน) แต่วิธีทดสอบให้ผลตอบแทนเป็นจำนวนเงิน 5,818 บาท/ไร่ ซึ่งสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร (4,770 บาท/ไร่) คิดเป็นร้อยละ 22  ส่วนแปลงที่ 2 ของนายชาตรี  บุญกระจ่าง พบว่ากรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิต ความหวาน ผลผลิตน้ำตาล ความสูง  และน้ำหนักลำสูงกว่าวิธีเกษตรกร เท่ากับ 19.27 ตัน/ไร่ 15.12 ซีซีเอส 2.92 ตันซีซีเอส/ไร่ 298 เซนติเมตร และ 1.98 กก./ลำ ตามลำดับ สูงกว่าวิธีเกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 34 3 40 6    และ 17  ตามลำดับ และทั้งสองกรรมวิธีให้ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์คุ้มค่าแก่การลงทุน คือ  BCR เท่ากับ 1.92 และ 1.18 ตามลำดับ โดยวิธีทดสอบให้ผลตอบแทนเป็นจำนวนเงิน 8,546 บาท/ไร่ ซึ่งสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร (5,249 บาท/ไร่) คิดเป็นร้อยละ 63 แสดงให้เห็นว่าวิธีทดสอบคุ้มค่าแก่การลงทุนและให้ผลตอบแทนที่เป็นรายได้มากกว่าวิธีของเกษตรกร