คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลอะโวคาโดนำเข้าจากเครือรัฐออสเตรเลีย - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4)
+--- เรื่อง: การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลอะโวคาโดนำเข้าจากเครือรัฐออสเตรเลีย (/showthread.php?tid=213)



การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลอะโวคาโดนำเข้าจากเครือรัฐออสเตรเลีย - doa - 11-02-2015

การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลอะโวคาโดนำเข้าจากเครือรัฐออสเตรเลีย
อลงกต โพธิ์ดี, วลัยกร รัตนเดชากุล, สุคนธ์ทิพย์ สมบัติ และวาสนา ฤทธิ์ไธสง
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของผลอะโวคาโดสดนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2553 - กันยายน 2554 ณ กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช เพื่อทราบชนิดศัตรูพืชกักกันหรือศัตรูพืชที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกันที่อาจติดมากับผลสดของอะโวคาโดที่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย และกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชที่เหมาะสม ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชข้อมูลศัตรูพืชของอะโวคาโดจากการศึกษาพบว่า ศัตรูพืชของอะโวคาโดที่มีรายงานในประเทศออสเตรเลีย จำนวน 88 ชนิด แบ่งเป็น แมลง 49 ชนิด ไร 1 ชนิด ไส้เดือนฝอย 11 ชนิด หอยทาก 1 ชนิด เชื้อรา 16 ชนิด แบคทีเรีย 4 ชนิด ไวรอยด์ 1 ชนิด และวัชพืช 5 ชนิด สำหรับศัตรูพืชของอะโวคาโดที่มีรายงานในประเทศไทยพบ จำนวน 68 ชนิด แบ่งเป็น แมลง 46 ชนิด ไร 2 ชนิด ไส้เดือนฝอย 6 ชนิด เชื้อรา 8 ชนิด แบคทีเรีย 2 ชนิด และวัชพืช 4 ชนิด ซึ่งศัตรูพืชของอะโวคาโดที่ไม่มีรายงานในประเทศไทยและอาจมีโอกาสติดมากับส่วนของพืชที่นำเข้า (ผลอะโวคาโดสด) จากประเทศออสเตรเลีย เช่น แมลง Bactrocera aquilonis, Bactrocera jarvisi, Bactrocera tryoni, Ceratitis capitata, Cerataphis lataniae, Ceroplastes destructor, Monolepta australis และ Pantomorus cervinus หอย Helix aspersa เชื้อรา Gibberella avenacea และ Verticillium dahliae และไวรอยด์ Avocado sunblotch viroid ซึ่งจะนำไปวิเคราะห์ในขั้นตอนต่อไป