คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การจัดการโรคราสนิมขาวของเบญจมาศ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4)
+--- เรื่อง: การจัดการโรคราสนิมขาวของเบญจมาศ (/showthread.php?tid=209)



การจัดการโรคราสนิมขาวของเบญจมาศ - doa - 11-02-2015

การจัดการโรคราสนิมขาวของเบญจมาศ
อมรรัตน์  ภู่ไพบูลย์, พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี, อภิรัชต์ สมฤทธิ์ และธารทิพย ภาสบุตร
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิชาการ สำนักวิจัยพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1

          ทดลองการจัดการโรคราสนิมขาวของเบญจมาศมีสาเหตุจากรา Puccinia horiana P. Henn. ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๔ ที่บ้านห้วยหวาย ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) โดยชุบต้นกล้าเบญจมาศในสารป้องกันกำจัดโรคพืชก่อนปลูก แล้วพ่นด้วยสารทดสอบชนิดเดียวกัน การทดลองมี 6 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 4 ซ้ำ ผลการตรวจและประเมินความรุนแรงของโรคครั้งสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยวเมื่อเบญจมาศอายุ 70 วัน พบว่า กรรมวิธีชุบต้นกล้าแล้วพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช Pyraclostrobin 25%SC อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการป้องกันกำจัดโรคราสนิมขาวของเบญจมาศมีระดับการเป็นโรคต่ำที่สุด 2.83 ส่วนกรรมวิธีอื่นๆ ได้แก่ การชุบต้นกล้าเบญจมาศและพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช Difenoconazole 25%EC, Axoxystrobin 5%SC, Hexaconazole 5%EC และ Propiconazole 25%EC มีระดับการเป็นโรค 3.25, 3.30, 3.48 และ 3.65 ตามลำดับ กรรมวิธีเปรียบเทียบโดยชุบต้นกล้าในน้ำเปล่ามีระดับการเป็นโรคสูงที่สุดคือ 4.30