คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ชนิดและแหล่งอาศัยของเชื้อรา Papulaspora sp. และระดับความเสียหายที่พบปนเปื้อนในการเพาะ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4)
+--- เรื่อง: ชนิดและแหล่งอาศัยของเชื้อรา Papulaspora sp. และระดับความเสียหายที่พบปนเปื้อนในการเพาะ (/showthread.php?tid=208)



ชนิดและแหล่งอาศัยของเชื้อรา Papulaspora sp. และระดับความเสียหายที่พบปนเปื้อนในการเพาะ - doa - 11-02-2015

ชนิด และแหล่งอาศัยของเชื้อรา Papulaspora sp. และระดับความเสียหายที่พบปนเปื้อนในการเพาะเห็ดฟาง (Volvariella volvacea ) เป็นการค้า
อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ธารทิพย ภาสบุตร, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และสุรีย์พร บัวอาจ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาชนิด และแหล่งอาศัยของเชื้อรา Papulaspora sp. และระดับความเสียหายที่พบปนเปื้อนในการเพาะเห็ดฟาง (Volvariella volvacea ) เป็นการค้า ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2554 ที่แปลงปลูกกล้วยไม้ของเกษตรกร และห้องทดลองของกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ได้ทำการสำรวจ เก็บรวบรวมวัสดุเพาะเห็ดฟาง และกองวัสดุที่กำลังเพาะเห็ดฟาง และในชั้นวางวัสดุเพาะเห็ดฟางทั้งหมักจากฟางข้าว และทะลายปาล์ม พบเชื้อรามีสีน้ำตาล เห็นชัดเจนบนกองวัสดุเพาะ เชื้อรานี้จะเจริญเป็นกลุ่มเส้นใยสีขาวแน่นทึบ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีลักษณะเป็นผงเล็กๆ ละเอียด ลักษณะที่มองเห็นนั้นคล้ายกับฝุ่นผงสีน้ำตาลซึ่งก็คือสปอร์กลมๆ เล็กๆ ของเชื้อราจำนวนมากนั่นเอง เม็ดกลมๆ ของสปอร์เชื้อนี้ เมื่อนำมาตรวจสอบภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง (compound microscope) พบว่า สปอร์ของเชื้อรามีผิวขรุขระ สีน้ำตาล รูปร่างกลมหรือรี คล้ายรูปทรงไข่ แต่ส่วนใหญ่มีรูปร่างทรงกลม เมื่อนำมาแยกเชื้อราให้ได้เชื้อบริสุทธิ์บนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA แล้วจำแนกชนิด ได้เชื้อรา Papulaspora sp. จำนวน 6 ไอโซเลท เชื้อรานี้เจริญและสร้างเส้นใยได้เร็วบนอาหาร PDA และเร็วกว่าเชื้อเห็ดฟาง และเส้นใยสามารถคลุมทับบนเส้นใยเห็ดฟาง