คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่ใช้น้้าฝน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2558 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=28)
+--- เรื่อง: วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่ใช้น้้าฝน (/showthread.php?tid=2072)



วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่ใช้น้้าฝน - doa - 11-29-2016

วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่ใช้น้้าฝน
สมชาย บุญประดับ, ฉัตรสุดา เชิงอักษร, พนิต หมวกเพชร, พรทิพย์ แพงจันทร์, บงการ พันธุ์เพ็ง, สุจิตร ใจจิตร, ไพบูรณ์ เปรียบยิ่ง และศรินณา ชูธรรมธัช
สำนักผู้เชี่ยวชาญ, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8

          เกษตรกรในพื้นที่อาศัยน้ำฝนส่วนใหญ่นิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้เกษตรกรมักประสบปัญหารายได้ต่ำ วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รูปแบบระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ใช้น้ำฝนในเขตต่างๆ ของประเทศไทย โดยยึดหลักเกษตรยั่งยืน และมีรายได้ต่อหน่วยพื้นที่เพิ่มขึ้น จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่ใช้น้ำฝน ในปี 2554 - 2558 ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย ผลการทดลองพบว่า ระบบการปลูกส้มเขียวหวานทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดพะเยา ให้รายได้สุทธิเฉลี่ยในปีที่ 4 ซึ่งส้มเขียวหวานเริ่มให้ผลผลิตเท่ากับ 1,836 บาท/ไร่ เปรียบเทียบกับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างเดียวให้รายได้สุทธิเฉลี่ย 3,316 บาท/ไร่ ระบบการปลูกมันฝรั่ง - พืชผัก ระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ - มันเทศ ระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ - ถั่วเขียว และระบบการปลูกพืชที่มีไม้ผลเป็นหลัก เป็นระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมเพื่อทดแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ดอนภาคเหนือตอนล่าง ระบบปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ - ถั่วเขียวเป็นระบบปลูกพืชที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ลาดชัน และระบบปลูกกาแฟอราบิก้าเหมาะสำหรับปลูกทดแทนกะหล่ำปลีในพื้นที่สูงเขตภาคเหนือตอนล่าง ระบบการปลูกระบบปลูกข้าว - ถั่วลิสงและระบบการปลูกข้าวมันสำปะหลัง ในจังหวัดขอนแก่น ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการปลูกข้าวอย่างเดียวร้อยละ 134 และ 251 ตามลำดับ และระบบการปลูกข้าวถั่วลิสงในจังหวัดนครพนม ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการปลูกข้าวอย่างเดียวร้อยละ 244 ในขณะเดียวกันระบบการปลูกข้าว มันเทศ และระบบปลูกข้าวโพดฝักสด ในพื้นที่นาดอนจังหวัดขอนแก่น ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการปลูกข้าวอย่างเดียวร้อยละ 740 และ 229 ตามลำดับ ระบบการปลูกข้าวมะเขือเทศเพื่อแก้ปัญหาโรครากปมมะเขือเทศในพื้นที่ดอนจังหวัดขอนแก่นได้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าการปลูกข้าวอย่างเดียวร้อยละ 853 โดยไม่พบการระบาดของโรครากปมมะเขือเทศ ระบบการปลูกข้าว – ถั่วลิสง ในพื้นที่ระดับน้ำใต้ดินลึกเขตใช้น้ำฝนจังหวัดบุรีรัมย์ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าการปลูกข้าว - ข้าวโพดฝักสดร้อยละ 335 ระบบการปลูกข้าว – ข้าวโพดฝักสด และระบบการปลูกข้าว – ถั่วลิสงในพื้นที่ระดับน้ำใต้ดินตื้นเขตใช้น้ำฝนจังหวัดสุรินทร์ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียวร้อยละ 225 และ 161 ตามลำดับ ระบบการปลูกมันสำปะหลังสลับที่กับถั่วลิสงในพื้นที่ไร่เขตใช้น้ำฝนจังหวัดร้อยเอ็ด ให้ผลผลิตเฉลี่ยและเปอร์เซ็นต์แปูงเฉลี่ยสูงกว่าปลูกมันสำปะหลังอย่างเดียว และระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ปลูกข้าวร่วมกับการปลูกมะม่วงแก้ว หรือมะม่วงหิมพานต์บนคันนาเขตใช้น้ำฝนจังหวัดอุบลราชธานี ให้ผลตอบแทนสูงกว่าระบบการปลูกข้าวอย่างเดียว และระบบการปลูกถั่วลิสงแซมในพื้นที่ปลูกยางพาราจังหวัดอำนาจเจริญ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยและอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าการปลูกยางพาราอย่างเดียว ระบบการปลูกข้าวโพดฝักสดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลืองฝักสดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเขียวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นระบบปลูกพืชไร่เป็นหลักที่เหมาะสมในจังหวัดอุทัยธานี และระบบการปลูกข้าวถั่วเหลืองฝักสดข้าวที่มีแหล่งน้ำเสริมในจังหวัดอุทัยธานี ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าระบบการปลูกพืชข้าวร้อยละ 72.3 ระบบการปลูกข้าว - ถั่วเหลืองฝักสด ข้าวถั่วเขียว ข้าวข้าวโพดฝักสด และข้าวโพดเทียน เป็นระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมในจังหวัดชัยนาท ในขณะเดียวกันระบบการปลูกข้าวข้าวโพดฝักสด และข้าวถั่วลิสงที่มีแหล่งน้ำเสริมในจังหวัดนครสวรรค์ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าการปลูกข้าวอย่างเดียวร้อยละ 600 และ 207 ตามลำดับ การจัดการระบบการผลิตปาล์มน้ำมันแบบครบวงจรอย่างยั่งยืนให้เหมาะสมกับพื้นที่ของเกษตรกรในเขตภาคใต้ตอนบน โดยได้ทำการทดสอบในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ กระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร และนครศรีธรรมราช จากผลการทดสอบการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามคำแนะนำ โดยการจัดการปุ๋ย การจัดการสวน และการเก็บเกี่ยวตามวิธีของกรมวิชาการเกษตร ให้รายได้สุทธิเฉลี่ยเพิ่มขึ้ร้อยละ 96 เมื่อเทียบกับวิธีเกษตรกร จากนั้นได้เลือกวิธีแนะน้าขยายผลสู่พื้นที่น้าร่องในจังหวัดสุราษฏร์ธานี ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ 1,388 บาทต่อไร่ต่อปี และรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 2,199 บาทต่อไร่ต่อปี การจัดทำแปลงต้นแบบพืชผสมผสานและทดสอบระบบการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในไร่เกษตรกรต้นแบบในภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา ตรัง และสตูล โดยจัดการระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานโดยยึดหลัก 9 พืช ผสมผสานพอเพียงร่วมกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งการเพิ่มชนิดพืชหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เกิดประโยชน์ และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร 4,500 - 132,688 บาท/ครัวเรือน/ปี และได้พัฒนาระบบการปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนต้นแบบที่บ้านลำ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง และขยายผลสู่ชุมชนตำบลบางเรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา