คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2558 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=28)
+--- เรื่อง: การวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง (/showthread.php?tid=2055)



การวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง - doa - 11-28-2016

การวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง
กัลยา เกาะกากลาง, สุเมธ อ่องเภา และอดุลย์ ขัดสีใส
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลำปาง

          รวบรวมพันธุ์และศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของส้มเกลี้ยงจากแหล่งปลูกส้มเกลี้ยง ระหว่างพ.ศ. 2555 - 2558 จากแหล่งปลูกทั้งหมด 9 จังหวัด จำแนกเป็นสายต้นได้ทั้งหมด 23 สายต้น คือ เชียงใหม่จำนวน 2 สายต้น ลำปางจำนวน 9 สายต้น แพร่จำนวน 1 สายต้น น่านจำนวน 2 สายต้น ตากจำนวน 1 สายต้น สุโขทัยจำนวน 1 สายต้น พิจิตรจำนวน 4 สายต้น ราชบุรีจำนวน 1 สายต้น และปราจีนบุรีจำนวน 2 สายต้น ซึ่งรวบรวมได้จากการตอนกิ่งจำนวน 7 สายต้น การติดตาจำนวน 15 สายต้น และการเพาะเมล็ดจำนวน 1 สายต้น บันทึกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ส้มเกลี้ยงพบว่า มีชื่อสามัญว่า Sweet Orange ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus senesis L. Osbeck จัดเป็นส้มประเภทเปลือกติดกับเนื้อ (thigh skin) มีลำต้นขนาดกลาง เปลือกส้มสีเขียวมีต่อมน้ำมันรอบๆ ผล เนื้อส้มมีสีเหลืองนวล ไส้ตรงกลางแน่น ใบมีลักษณะเป็นรูปรี ใบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเรียกว่าแผ่นใบ ส่วนที่ติดกับก้านใบเรียกว่าหูใบ ส้มเกลี้ยงเป็นส้มที่มีหูใบเล็กและเรียวแทบมองไม่เห็นเด่นชัด สีของใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีเขียวอ่อน ขอบใบแบบจักรฟันเลื่อยขนาดเล็ก มีการรียงตัวของใบแบบสลับ ดอกออกตามปลายกิ่งเล็กๆ เป็นช่อจำนวน 10 – 20 ดอก เป็นดอกสมบรูณ์เพศ กลีบดอกมีสีขาวจำนวน 4 – 5 กลีบ ซึ่งส้มเกลี้ยงที่รวบรวมได้ทั้งหมดมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือน