คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
โครงการทดสอบการผลิตพริกแบบผสมผสานในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2558 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=28)
+--- เรื่อง: โครงการทดสอบการผลิตพริกแบบผสมผสานในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (/showthread.php?tid=2038)



โครงการทดสอบการผลิตพริกแบบผสมผสานในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน - doa - 11-25-2016

โครงการทดสอบการผลิตพริกแบบผสมผสานในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
พรทิพย์ แพงจันทร์, ศศิธร ประพรม, รัชนีวรรณ ชูเชิด, วราพร วงษ์ศิริวรรณ, ขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย, อนงค์นาฏ พรหมทะสาร, ปรีชา แสงโสดา, จุฑามาส ศรีสำราญ, กิตติพร เจริญสุข, กาญจนา ทองนะ, ศิริลักษณ์ สมนึก, พสุ อารีสกุลวัฒนา, ศิริลักษณ์ พุทธวงค์, เปรมจิตต์ ใจหาญ, สิทธิพงศ์ ศรีสว่างวงศ์, วัชราพร ศรีสว่างวงศ์, ปราณี วรเนตรสุดาทิพย์, ญาณิน สุปะมา และศักดิ์สิทธิ์ จรรยากรณ์

          โครงการพัฒนาการผลิตแบบผสมีผสานพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการผลิตพริกแบบผสมีผสานให้ได้เทคโนโลยีให้มี ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตสูงขึ้น เกษตรกรได้รับผลต่อบแทนมีากขึ้น โดยทำการทดสอบการผลิตพริกขี้หนูผลใหญ่ ตั้งแต่ปี 2554 - 2558 ระยะเวลา 5 ปี ดำเนินการในพื้นที่เกษตรกรอำเภอเทพสถิต จัตุรัส บำเหน็จณรงค์ และอำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเลย อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร อำเภอโพนพิสัยและอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย อำเภอชุมแพ จังหวัดข้อนแก่น ดำเนินการทดสอบผลิตพริกแบบผสมีผสาน (เคมี + อินทรีย์) ผลการทดสอบทั้ง 5 จังหวัด ในภาพรวมีเปรียบเทียบวิธีเกษตรกร (ที่ใช้สารเคมีอย่างเดียว) โดยเฉลี่ยพบว่า วิธีทดสอบที่มีการผลิตพริกแบบผสมีผสาน ได้ผลผลิตพริกขี้หนูผลใหญ่เฉลี่ย 1,090 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตที่มีคุณภาพไม่มีโรคแมลงทำลายคิดเป็นร้อยละ 88.4 สูงกว่าวิธีเกษตรกร ผลผลิตเฉลี่ย 883 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตที่มีคุณภาพคิดเป็นร้อยละ 82.8 วิธีทดสอบผลผลิตสูงกว่าวิธีเกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 23 เมื่อดูข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ วิธีทดสอบมีรายได้ต้นทุน และผลต่อบแทนเฉลี่ย คือ 44,018 15,704 และ 28,314 บาทต่อไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกรที่มีรายได้ต้นทุน และผลต่อบแทนเฉลี่ยเป็น 36,239 15,897 และ 20,342 บาทต่อไร่ ตามลำดับ วิธีทดสอบมีผลต่อบแทนการผลิตพริกสูงกว่าการผลิตโดยวิธีข้องเกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 39.2 เมื่อดูสัดส่วนรายได้ต่อการลงทุน (BCR) พบว่าเกษตรกรผลิตพริกตามีวิธีผสมีผสานจะมีรายได้คุ้มค่าในการลงทุนมีากกว่าวิธีเกษตรกร คือ 2.8 และ 2.3 ตามลำดับ ทั้งนี้การผลิตพริกแบบผสมีผสานเป็นแนวทางที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจทั้งในเรื่องการประเมินศัตรูพืช รวมีทั้งการใช้สารเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ผลข้องการทดสอบอาจจะไม่ใช้ตัวชี้วัดความสำเร็จได้ทั้งหมด การศึกษาการยอมีรับเทคโนโลยีการผลิตพริกที่เราได้ไปดำเนินการทดสอบต่อยอด ทั้งก่อนหน้านี้และปี 2554 - 2558 โดยทำการศึกษาในพื้นที่จังหวัดเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ที่มีแหล่งผลิตพริกมากและพื้นที่ทดสอบจำนวน 967 ราย พบว่าเกษตรกรมีการยอมีรับเทคโนโลยีการผลิตพริกแบบผสมีผสานในระดับมาก ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน คือ ร้อยละ 80.3 และ 83.7 ตามลำดับ ในขณะที่เกษตรกรทั่วไป เช่นเกษตรกรแปลงใกล้เคียงหรือแปลง GAP ให้การยอมีรับในระดับปานกลาง คือ 78.7 และ 70.2 ตามลำดับ

          ส่วนใหญ่เกษตรกรที่ได้รับเทคโนโลยีแบบผสมีผสานยังต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ที่สามารถทำการผลิตเชื้อชีวินทรีย์ เช่นการขยายเชื้อไตรโครเดอร์มา แบบง่ายด้วยข้าวสุก รวมีทั้งการใช้สารเคมีที่ถูกต้องกับชนิดข้องศัตรูพืช รวมีทั้งใช้อัตรา และช่วงเวลาที่เหมาะสม แต่ทั้งนี้ก็ถือว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเกษตรกรทั่วไปก็เริ่มมีพัฒนาการที่ดี และมีแนวโน้มีดีขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้การผลิตพริกแบบผสมีผสานมีประสิทธิภาพและขยายมากขึ้นในวงกว้างต่อไป