คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
โครงการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตพริก - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2558 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=28)
+--- เรื่อง: โครงการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตพริก (/showthread.php?tid=2011)



โครงการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตพริก - doa - 11-22-2016

โครงการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตพริก
วิลาวัณย์ ใคร่ครวญ, รักชัย คุรุบรรเจิดจิต, ศัลยมล นิเทศพัฒนพงษ์ และอำไพ ประเสริฐสุข

          การปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้พริกที่มีความเผ็ด (ปริมาณสารแคบไซซิน) สูงและพันธุ์ที่มีปริมาณสารแอนโทไซยานินสูง ดำเนินการตั้งแต่ ปี 2554 - 2558 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี ในการคัดเลือกพันธุ์ให้ได้ปริมาณสารแคบไซซินสูงจากการคัดเลือกพันธุ์ได้พริก 22 พันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือก นำพริก 14 สายพันธุ์แรกที่มีผลผลิตสูงและมีปริมาณแคบไซซินสูง เป็นพริกขี้หนูผลเล็ก 5 พันธุ์ พริกขี้หนูผลใหญ่ 8 พันธุ์ เปรียบเทียบกับพริกพันธุ์เผ็ดระดับสากลและปลูกเพื่ออุตสาหกรรม ได้พริกสายพันธุ์ 53-153-1-1-1 สายพันธุ์ 52-123-1-1-1-1 และสายพันธุ์ 53-135-1-1-1 ให้ผลผลิต 1,980 1,275 และ 1,180 กรัม เมื่อเก็บเกี่ยว 1 เดือน และแต่ละพันธุ์มีปริมาณแคบไซซิน 1,138 1,760 และ 1,590 ไมโครกรัมต่อกรัม ตามลำดับ เพื่อนำไปปลูกทดสอบพันธุ์ในแหล่งปลูกและแปลงเกษตรกรในปี 2560 และใช้เป็นแม่ และพ่อพันธุ์สำหรับการสร้างลูกผสมพริกเพื่อการผลิต แคบไซซินโดยฉพาะ การสร้างลูกผสมพริกจากพริกของประเทศไทยกับพริกเผ็ดพันธุ์ต่างประเทศ เพื่อการผลิตแคบไซซินได้ลูกผสมพริก 8 คู่ผสม ที่สามารถปรับตัว เจริญเติบโต และให้ผลผลิตที่มีแนวโน้มที่ดี สำหรับปลูกเปรียบเทียบและทดสอบพันธุ์ต่อไป ขณะที่การคัดเลือกพันธุ์ที่มีสารแอนโทไซยานินสูง ได้พันธุ์พริกที่มีปริมาณแอนโทไซยานินสูง 3 พันธุ์ ประกอบด้วย พริกม่วง 52-60 พริกจินดาผลเขียวเข้ม พริกขี้หนูใหญ่จากสทช. และจินดาหมอสอ โดยมีปริมาณแอนโทไซยานิน 0.0195, 0.019, 0.010 และ 0.010 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ สำหรับการปลูกเปรียบเทียบและทดสอบพันธุ์ก่อนเสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร