โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดหวาน - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2558 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=28) +--- เรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดหวาน (/showthread.php?tid=1967) |
โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดหวาน - doa - 11-17-2016 โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดหวาน เชาวนาถ พฤทธิเทพ, กิตติภพ วายุภาพ, จิราลักษณ์ ภูมิไธสง, วรรษมน มงคล, ฉลอง เกิดศรี, อัจฉรา จอมสงําวงศ์, ชูชาติ บุญศักดิ์, ปวีณา ไชยวรรณ, ธรรมรัตน์ ทองมี, พรอุมา เซ่งแซ่, กัลยา วิธี, สันติ พรหมคำ, สุเทพ สหายา, ชัชธนพร เกื้อหนุน, สมควร คล้องช้าง, สมฤทัย ตันเจริญ, บรรณพิชญ์ สัมฤทธิ์, อนุสรณ์ เทียนศิริฤกษ์, กัลยกร โปร่งจันทึก, ชุติมันต์ พานิชศักดิ์พัฒนา, ฉันทนา คงนคร, ชญาดา ดวงวิเชียร, สมบัติ บวรพรเมธี, อนุชา เหลาเคน, มัตติกา ทองรส, นงลักษณ์ จีนกูล, พีชณิตดา ธารานุกูล, นาฏญา โสภา, พิกุลทอง สุอนงค์, อัญชลี โพธิ์ตั้งธรรม และบรรเจิด พูลศิลป์
โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดหวาน ประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ การพัฒนาพันธุ์ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ระบบการผลิตและการตลาด และการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตในแตํละสภาพพื้นที่ ดำเนินการหว่างปี 2554 - 2558 ที่สถาบันวิจัย กองวิจัย สำนักวิจัย ศูนย์วิจัยพืชไร่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร และแปลงเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานที่สำคัญของประเทศ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวาน พัฒนาชุดเทคโนโลยีการผลิตให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางการผลิต การลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตสำหรับเกษตรกร และทดสอบชุดเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดหวานที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ผลการวิจัยสามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสม ได้จำนวน 2 พันธุ์ คือ ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 86-1 ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 2,888 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักสดปอกเปลือก 1,939 กิโลกรัมต่อไร่ และข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 2,897 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตฝักสดปอกเปลือก 1,965 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานปานกลางต่อโรคใบไหม้แผลใหญ่ พร้อมเทคโนโลยีการผลิตที่จำเพาะกับพันธุ์ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดหวาน ได้คำแนะนำการจัดการน้ำและธาตุอาหารในการผลิตข้าวโพดหวานที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ในพื้นที่ดินเหนียว-ร่วนเหนียว บนชุดดินทับกวาง ควรให้น้ำที่ระดับความชื้นดินที่ลดลง 40 เปอร์เซ็นต์ของ AWC ร่วมกับอัตราปุ๋ยนั้นการใส่ปุ๋ยตามคําวิเคราะห์ดิน บนชุดดินวังสะพุง ควรให้น้ำที่ระดับช่วงความชื้นดินที่ลดลง 40 เปอร์เซ็นต์ของ AWC ร่วมกับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 1.25 เท่า ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมในปริมาณ 1 เท่าตามค่าวิเคราะห์ดิน ในพื้นที่ดินร่วน-ร่วนปนทราย บนชุดดินกำแพงแสนและท่าม่วง ควรให้น้ำที่ระดับความชื้นดินที่ลดลง 60 เปอร์เซ็นต์ของ AWC ร่วมกับอัตราปุ๋ย 1.5 เท่าตามคําวิเคราะห์ดิน ด้านการจัดการธาตุอาหาร ในดินเหนียว-ร่วนเหนียว ชุดดินทับกวางควรใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 15-10-5 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ ในขณะที่ชุดดินวังสะพุงให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 22.5 - 30 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยโพแทช 10 - 5 กิโลกรัม P2O5-K2O ต่อไร่ ในดินร่วน-ร่วนปนทราย ให้ใส่ปุ๋ยอัตรา 30-10-10 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ ซึ่งเป็นการใช้ปุ๋ยตามคําวิเคราะห์ดิน โดยดินชุดกำแพงแสนให้ใส่ปุ๋ย 0.5 เท่าตามคําวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ หรือใส่ปุ๋ย 0.5 เท่าตามคําวิเคราะห์ดินร่วมกับมูลวัว 500 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ ในขณะที่ชุดดินท่าม่วง ควรใส่ปุ๋ยอัตรา 30-10-10 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ ทำให้ได้ผลผลิตสูงสุด ในพื้นที่ชุดดินหาดใหญ่ การจัดการธาตุอาหารโดยไม่ปรับปรุงดินพบว่า การใส่ปุ๋ย 30-0-10 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุนสูงสุด ในสภาพที่มีการปรับปรุงดินพบว่า การใส่ปุ๋ย 30-5-5 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ยสูงสุด และมีผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุนสูงสุด นอกจากนี้ยังพบว่า ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-วัน (PGPR-1) สามารถช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้อย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ การจัดการแมลงศัตรูพืชพบว่า การพ่นสาร chlorantraniliprole Prevathon 5.17%SC) อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และ flubendiamide (Takumi 20%WG) อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถป้องกันกำจัดหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดได้ดีสุด การคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสาร thiamethoxam (Cruiser 35%FS), imidacloprid (Provado X 60%FS) และ imidacloprid (Gaucho 70%WS) อัตรา 5, 5, และ 5 กรัมหรือมิลลิลิตรต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟสูงสุด และการพ่นสาร spinetoram Spinetoram12%SC) อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟดีที่สุด การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้างพบว่า การเคลือบเมล็ดด้วยสารพอลิเมอร์ผสมสารเคมีไดเมทโทมอร์ฟ (Dimethomorph 50% WP) อัตรา 20 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม สามารถควบคุมโรคได้ดีที่สุด สามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์นาน 4 เดือน และการคลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยสารเคมีไดเมทโทมอร์ฟร่วมกับการพ่นเมื่อข้าวโพดหวานอายุ 10 วัน และพ่นทุก 7 วัน รวมพ่นสาร 3 ครั้ง สามารถลดความเสียหายจากการเข้าทำลายของโรคได้ 69 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวพบว่า การเก็บรักษาฝักข้าวโพดหวานแบบปอกเปลือกควรเก็บรักษาในถุง PE สามารถเก็บรักษาได้ 6 วัน โดยที่คุณภาพยังเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดข้าวโพดหวานพบว่า พื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานส่วนใหญ่อยูํในเขตชลประทาน ปลูกเป็นพืชเดี่ยว พืชสลับ หรือปลูกเป็นพืชแซมพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ ในพื้นที่มีโรงงานอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง เกษตรกรจะปลูกต่อเนื่องตลอดทั้งปี ด้านเศรษฐศาสตร์พบว่า ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยหว่าง 4,642 - 7,332 บาทต่อไร่ ต้นทุนส่วนใหญ่ใช้ในการซื้อปุ๋ยเคมี ผลผลิตฝักสดที่เกษตรกรผลิตได้เฉลี่ย 1,729 - 2,239 กิโลกรัมต่อไร่ โดยเกษตรกรมีกำไรสุทธิเฉลี่ย 1,277 - 4,326 บาทต่อไร่จากการจำหน่ายผลผลิตให้กับผู้รวบรวมเพื่อเข้าโรงงาน ในขณะที่การจำหน่ายผลผลิตเพื่อบริโภคฝักสดมีกำไรสุทธิเฉลี่ย 15,130 บาทต่อไร่ เกษตรกรร้อยละ 82 คิดว่าข้าวโพดหวานเป็นพืชที่สร้างรายได้ดี ฤดูการผลิตสั้น มีตลาดรองรับ และมีความคุ้มทุนในการลงทุนผลิต ด้านเทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกรพบว่า พันธุ์ที่นิยมปลูกขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดและการส่งเสริมพันธุ์ของบริษัทหรือผู้รวบรวมผลผลิต ในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตก ส่วนใหญ่เตรียมดินก่อนปลูก 2 ครั้ง และมีการปรับปรุงดินโดยใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ เช่น มูลไก่ ยกร่องปลูกแบบแถวเดี่ยวหรือแถวคู่ ระยะปลูกมีความแตกต่างกันในแต่ละสภาพพื้นที่ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนใหญ่ไม่มีการจัดการดินหรือเตรียมดินก่อนปลูก การใส่ปุ๋ยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ใส่ปุ๋ยรองพื้น โดยจะใส่ปุ๋ยหลังปลูก 2 - 3 ครั้งที่อายุประมาณ 14 25 และ 40 วัน ปุ๋ยครั้งที่ 1 ส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยเคมี 15-15-15 หรือ 46-0-0 การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 และ 3 ส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยเคมี 46-0-0 อัตรา 21 - 40 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรบางส่วนใส่ปุ๋ยเกล็ดฮอร์โมน และสารอื่นๆ เพิ่มปัญหาที่เกษตรกรประสบ ได้แก่ ปัญหาภัยธรรมชาติ ปัญหาอื่นๆ เช่น ผลผลิตต่ำ การลงทุนสูงเมื่อเทียบกับพืชอื่น ราคาผลผลิตต่ำ ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดหวานในแต่ละสภาพพื้นที่แบบเกษตรกรมีส่วนร่วมพบว่า ในจังหวัดปทุมธานีและอุทัยธานี การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดหวานของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ พันธุ์ชัยนาท 2 ให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือกไม่แตกต่างหรือสูงกว่าพันธุ์การค้าที่เกษตรกรนิยมปลูก โดยให้ผลผลิตทั้งเปลือกเฉลี่ย 2,477 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่การทดสอบข้าวโพดหวานพันธุ์สงขลา 84-1 ในจังหวัดพังงา พบว่าให้ผลผลิตทั้งเปลือกเฉลี่ย 2,412 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์การค้าที่เกษตรกรนิยมปลูก 13 เปอร์เซ็นต์ มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5,471 บาทต่อไร่ คิดเป็น 18 เปอร์เซ็นต์ การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดหวานของกรมวิชาการเกษตรในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ การใส่ปุ๋ย ระยะปลูก และการจัดการศัตรูพืช พบว่าวิธีทดสอบให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกสูงกว่าหรือไม่แตกต่างจากวิธีที่เกษตรกรใช้อยู่ระหว่าง 2,305 - 2,446 กิโลกรัมต่อไร่ โดยวิธีทดสอบให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุด 17,937 บาท จากการจำหน่ายเพื่อบริโภคฝักสด เมื่อพิจารณาค่า BCR (Benefit Cost Ratio) หรือสัดส่วนรายได้ต่อการลงทุน พบว่าวิธีทดสอบให้ค่า BCR เฉลี่ยสูงสุด 4.5 ในขณะที่วิธีที่เกษตรกรปฏิบัติมีค่า BCR เฉลี่ย 2.8 การทดสอบเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารในข้าวโพดหวาน จังหวัดปทุมธานี พบว่าการใส่ปุ๋ยตามคําวิเคราะห์ดินตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรและวิธีที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันหว่าง 2,156 - 2,435 กิโลกรัมต่อไร่ แต่พบว่าการใส่ปุ๋ยตามคําวิเคราะห์ดินมีค่า BCR มากกว่าวิธีที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ การทดสอบชุดเทคโนโลยีโดยการทดสอบข้าวโพดหวานพันธุ์ชัยนาท 2 ร่วมกับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดหวานของกรมวิชาการเกษตร ในจังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งมีสภาพดินร่วนปนทรายพบว่า การใช้พันธุ์ชัยนาท 2 ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีตามคําวิเคราะห์ดินให้ผลผลิตน้ำหนักฝักสดก่อนปอกเปลือกสูงสุด 2,104 กิโลกรัมต่อไร่ และค่า BCR สูงสุดเท่ากับ 4.14 ในจังหวัดบุรีรัมย์และมหาสารคาม พบว่าการปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์ชัยนาท 86-1 ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามคําวิเคราะห์ดิน สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานฝักสดทั้งเปลือก 9 - 18 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดต้นทุนปุ๋ยเคมี และต้นทุนการผลิตลงได้เฉลี่ย 31 และ 35 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร 6 - 12 เปอร์เซ็นต์ ในจังหวัดนครราชสีมาซึ่งมีสภาพดินร่วนเหนียว การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรให้ผลผลิตและรายได้มากกว่าวิธีที่เกษตรกรปฏิบัติ โดยให้ผลผลิต 2,725 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้ 18,773 บาทต่อไร่ สามารถเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้เกษตรกร 11 เปอร์เซ็นต์ ด้านการยอมรับเทคโนโลยี พบว่าเกษตรกรมีความพึงพอใจพันธุ์ข้าวโพดหวานและเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร เนื่องจากให้ผลผลิตและรายได้สูงกว่าวิธีที่เกษตรกรปฏิบัติเดิม
|