คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืชในมันสำปะหลัง - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2558 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=28)
+--- เรื่อง: การวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืชในมันสำปะหลัง (/showthread.php?tid=1954)



การวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืชในมันสำปะหลัง - doa - 11-16-2016

การวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืชในมันสำปะหลัง
เมธาพร พุฒขาว, ชมัยพร บัวมาศ, ชลิดา อุณหวุฒิ, ลักขณา บำรุงศรี, สุนัดดา เชาวลิต, อนุวัฒน์ จันทรสุวรรณ, สุเทพ สหายา, สุวลักษณ์ อะมะวัลย์, เสาวรี บำรุง, พวงผกา อ่างมณีล, อัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล, อัมพร วิโนทัย, มานิตา คงชื่นสิน, วลัยพร ศะศิประภา, ปรีชา แสงโสดา, เถลิงศักดิ์ วีระวุฒิ, ณิชา  โป๋ทอง, กฤษณา  ทวีศักดิ์วิชิตชัย, วิสุทธิ์ กีปทอง, ประภัสสร เชยคำแหง, รจนา ไวยเจริญ, พิเชษฐ เชาวน์วัฒนวงศ์ ธรรมรัตน์ ทองมี, ปิยะรัตน์ จังพล, รัศมี สิมมา, เสาวลักษณ์ บันเทิงสุข, สุรีรัตน์ ทองคำ, อทิติยา แก้วประดิษฐ์, จรรยา มณีโชติ, ยุรวรรณ อนันตนมณี, ปรัชญา เอกฐิน, สุพัตรา ชาวกงจักร, นิมิตร วงศ์สุวรรณ, เบญจมาศ คำสืบ, อนุชา เหลาเคน, นาฎญา โสภา, ศศิธร ประพรม, มัตติกา ทองรส, จิราลักษณ์ ภูมิไธสง, ไพริน พลตระกูล, นิรมล ดำพะทิก, อมรรัชฏ์ คิดใจเดียว, วราลักษณ์ บุญมาชัย, สายชล แสงแก้ว, ยุทธจักร วงษ์วัฒนะ, จรัญญา ปิ่นโสภา, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง, วิมลวรรณ โชติวงศ์, อิทธิพล บรรณาการ, เกศสุดา สนศิริ และสิทธิศิโรดม  แก้วสวัสดิ์์ 

          อนุกรมวิธานของเพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ข้าว และไรแดง  ในมันสำปะหลังศึกษาเพื่อทราบชนิด ลักษณะความแตกต่างพร้อมแนวทางในการวินิจฉัยและเขตการกระจายในมันสำปะหลังที่มีอยู่ในประเทศไทย โดยเก็บรวบร่วมตัวอย่างจากแหล่งปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ มาทำสไลด์ถาวร และตรวจวินิจฉัยชนิด ตามหลักอนุกรมวิธานพบเพลี้ยแป้ง 5 ชนิด ได้แก่ เพลี้ยแป้งลาย, Ferrisia virgata (Cockerell) เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู, Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเขียว, Phenacoccus madeirensis Green เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเทา, Pseudococcus jackbeardsleyi Gimple & Miller  เพลี้ยแป้งมะละกอ, Paracoccus marginatus Williams & Granara de Willink พบแมลงศัตรูธรรมชาติ อันดับ  Coleoptera วงศ์ Coccinellidae จำนวน 7 ชนิด อันดับ  Neuroptera วงศ์ Chrysopidae จำนวน 1 ชนิด และอันดับ Hymenoptera วงศ์ Encyrtidae จำนวน 1 ชนิด พบแมลงหวี่ข้าว 2 ชนิด ได้แก่ แมลงหวี่ข้าวใยเกลียว  (spiralling Whitefly) Aleurodicus dispersus Russell และแมลงหวี่ข้าวยาสูบ (tobacco Whitefly) Bemisia tabaci (Gennadius) พบไรศัตรูมันสำปะหลังทั้งหมด  2 วงศ์ 13 ชนิด วงศ์ Tetranychidae มีทั้งหมด 11 ชนิด และวงศ์ Tenuipalpidae พบ 2 ชนิด ได้แก่ Brevipalpus phoenicis (Geijskes), Brevipalpus californicus (Banks) ซึ่งชนิดที่มีความสำคัญและพบระบาดตลอดเกือบทั้งปี ได้แก่ Tetranychus truncatus Ehara และ Oligonychus biharensis (Hirst) นอกจากนี้แล้วในการสำรวจไรศัตรูพืชที่พบบนมันสำปะหลังในครั้งนี้ ยังพบไรชนิดใหม่ (new species) จำนวน 1 ชนิดมีชื่อว่า Neotetranychus lek Flechtmann ซึ่งตั้งชื่อโดย ดร. Flechtmann นำตัวอย่างแมลงหวี่ข้าวนำเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์แแมลง กรมวิชาการเกษตร ซึ่งสภาพภูมิอากาศที่พบแมลงศัตรูมันสำปะหลังมากคือ  ช่วงเวลาที่ฝนทิ้งช่วงหรือมีฝนตกน้อย อุณหภูมิต่ำ และความชื้นสูง สำหรับการจัดการแมลงและไรศัตรูมันสำปะหลังพบว่า การใช้สารเคมี thiamethoxam 25%WG มีประสิทธิภาพดีที่สุด ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง เมื่อศึกษาต้นทุนการใช้เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมันสำปะหลังโดยเฉพาะเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ซึ่งระบาดหนักและทำความเสียหายมากมีต้นทุนเพิ่มขึ้น 17 - 192 บาทต่อไร่ (ร่วมค่าสารเคมีและค่าจ้างแรงงานพ่นสาร) ส่วนการใช้แมลงช้างปีกใส Plesiochrysa ramburi ควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังนั้นตัวอ่อนวัย 1 - 3 ของแมลงช้างปีกใสสามารถกินเพลี้ยแป้งเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังได้ ซึ่งปล่อยในอัตรา 3 - 5 ตัวต่อต้นต้น จำนวน 2 ครั้ง ส่วนการป้องกันกำจัดไรแดงหม่อน Tetranychus truncatus Ehara สารฆ่าไรทุกชนิดที่ทำการทดลอง สามารถควบคุมไรแดงศัตรูมันสำปะหลังได้ดี หลังการพ่น 7 - 14 วัน ส่วนการศึกษาผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อต้นด้วงตัวห้ำ Stethorus pauperculus (Weise) พบว่า amitraz 20% EC, pyridaben 20% WP และ white oil 67% EC ไม่มีพิษต่อต้นด้วงตัวห้ำ

          สำหรับปัญหาเรื่องโรคของมันสำปะหลัง ศึกษาโรคแอนแทรคโนสของมันสำปะหลัง จากการออกสำรวจและเก็บรวบร่วมเชื้อสาเหตุโรค จากแหล่งปลูกมันสำปะหลัง 11 จังหวัด พบมันสำปะหลังแสดงอาการของโรค 4 จังหวัด คือ ลพบุรี ตาก ลำปาง และอุตรดิตถ์  ได้เชื้อราสาเหตุโรค 8 ไอโซเลท ในมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 11 และระยอง 72 จำแนกชนิดเชื้อราสาเหตุโรคแอนแทรคโนส คือ Colletotrichum gloeosporioides 7 ไอโซเลท และ Collectotrichum capsici 1 ไอโซเลท และเชื้อรา  Colletotrichum gloeosporioides จากการแยกเชื้อสาเหตุโรคจากตัวอย่างมันสำปะหลังที่แสดงอาการของโรคที่เก็บรวบร่วมจากอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง มีความรุนแรงก่อให้เกิดโรคสูงสุด

          ส่วนปัญหาด้านวัชพืชพบว่า การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชพ่นแบบก่อนวัชพืชงอก (Pre-emergence application) ตามกรรมวิธีทดลอง สามารถควบคุมวัชพืชได้ดี โดยไม่เป็นอันตรายต่อต้นต้นมันสำปะหลัง การจัดการวัชพืชแบบผสมผสานเพื่อลดต้นทุนในระบบการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร  เกษตรกรส่วนใหญ่เลือกใช้คู่ผสม s-metolachlor+flumioxazin อัตรา 196+10 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ร่วมกับการไถตากดิน และกำจัดวัชพืชเถาเลื้อยข้ามปีก่อนไถเตรียมแปลงปลูก ส่วนการกำจัดต้นข้าวในการปลูกมันสำปะหลังหลังนา การใช้สารกำจัดวัชพืช alachlor+diuron อัตรา 240+160 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ จะสามารถควบคุมวัชพืชได้นานถึง 3 เดือน สามารถลดต้นทุนการกำจัดวัชพืชของเกษตรกรได้ 3.3 - 5 .4 เท่าของการใช้แรงงานดายหญ้าซึ่งมีต้นทุนเฉลี่ยไร่ละ 2,357 บาท