โครงการทดสอบและพัฒนาเครื่องกำจัดวัชพืชสำหรับสวนลำไย - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6) +--- เรื่อง: โครงการทดสอบและพัฒนาเครื่องกำจัดวัชพืชสำหรับสวนลำไย (/showthread.php?tid=1938) |
โครงการทดสอบและพัฒนาเครื่องกำจัดวัชพืชสำหรับสวนลำไย - doa - 10-14-2016 โครงการทดสอบและพัฒนาเครื่องกำจัดวัชพืชสำหรับสวนลำไย สนอง อมฤกษ์, ธีรศักดิ์ โกเมศ, ปรีชา ชมเชียงคำและขนิษฐ์ หว่านณรงค์ ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ได้ทำการนำเทคโนโลยีการกำจัดวัชพืชด้วยจอบหมุนเยื้องข้างในสวนลำไยในเขตพื้นที่ภาคเหนือ โดยทำการทดสอบในแปลงทดสอบที่ จ.ลำปาง โดยเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องตัดหญ้า และการใช้สารเคมี จากการทดสอบพบว่า ค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชด้วยจอบหมุนเยื้องข้างสูงที่สุด ในอัตรา 260.98 บาท ต่อไร่ต่อครั้ง และกำจัดวัชพืชปีละ 6 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายรวม 1,565.90 บาทต่อไร่ต่อปี ส่วนค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องตัดหญ้าแบบติดท้ายรถแทรคเตอร์ มีค่ารองลงมา ในอัตรา 213.45 บาทต่อไร่ต่อครั้ง และกำจัดวัชพืช ปีละ 6 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายรวม 1,280.70 บาทต่อไร่ต่อปี และค่าใช้จ่ายในการก าจัดวัชพืชด้วยสารก าจัดวัชพืชไกลโฟเสท ต่ าที่สุด ในอัตรา 205.13 บาทต่อไร่ต่อครั้ง และกำจัดวัชพืช ปีละ 4 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายรวม 820.53 บาทต่อไร่ต่อปี ในด้านปริมาณผลผลิตพบว่า ผลผลิตจากการกำจัดวัชพืชด้วยจอบหมุนสูงที่สุด ด้วยปริมาณผลผลิต 314.3 กิโลกรัมต่อไร่ การใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดไกลโฟเสท มีปริมาณลดลงมา ด้วยปริมาณผลผลิต 284.0 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตจากการกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องตัดหญ้าแบบติดท้ายรถแทรคเตอร์มีค่าต่ำที่สุด 262.0 กิโลกรัมต่อไร่ ในด้านความสามารถในการทำงานพบว่า ความสามารถในการทำงานจากการกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องตัดหญ้าแบบติดท้ายรถแทรคเตอร์สูงที่สุด ด้วยความสามารถในการทำงาน 4.96 ไร่/ชม. การกำจัดวัชพืชด้วยจอบหมุน มีอัตราลดลงมา ด้วยความสามารถในการทำงาน 2.77 ไร่/ชม. และความสามารถในการทำงานจากการใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดไกลโฟเสทมีค่าต่ำที่สุด 0.48 ไร่/ชม. ดังนั้นการการกำจัดวัชพืชด้วยจอบหมุนเยื้องข้างจึงสามารถทดแทนการใช้สารเคมีในสวนลำไยได้
|