คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
วิจัยและพัฒนาเครื่องฝังปุ๋ยในไร่อ้อย - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: วิจัยและพัฒนาเครื่องฝังปุ๋ยในไร่อ้อย (/showthread.php?tid=1923)



วิจัยและพัฒนาเครื่องฝังปุ๋ยในไร่อ้อย - doa - 10-13-2016

วิจัยและพัฒนาเครื่องฝังปุ๋ยในไร่อ้อย

1. ศึกษาสภาพการใช้เครื่องฝั่งปุ๋ยในไร่อ้อยภายในประเทศไทย
วิชัย โอภานุกุล พินิจ จิรัคคกุล สันธาร นาควัฒนานุกุล
สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม

          เครื่องฝังปุ๋ยที่เกษตรกรใช้สำหรับบำรุงอ้อยตอภายในประเทศ จะมีคุณลักษณะของเครื่องจะขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ปลูกในแต่ละภาคซึ่งมีผลจากห่างระหว่างร่องของอ้อย 80 ซม. และ 150 ซม. ชนิดของเครื่องมีทั้งแบบ 2 หรือ 4 ขาไถ อัตราการฝังปุ๋ย 30 - 75 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรจะฝังปุ๋ยลึก 10 - 30 ซม. อัตราการทำงาน 6 - 10 ไร่ต่อวัน ใช้ต้นกำลังรถแทรกเตอร์ขนาด 80 แรงม้าขึ้นไป ราคาประมาณ 60,000 - 80,000 บาท หากนำไปรับจ้างคิดค่าจ้าง 300 - 400 บาทต่อไร่ โดยเกษตรกรจะรีบฝังปุ๋ยทันทีหลังเก็บเกี่ยวอ้อย ส่วนปริมาณปุ๋ยที่ใช้เกษตรกรจะพิจารณาจากสภาพของดินและน้ำที่อ้อยจะได้รับ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการวิเคราะห์ดินก่อนใส่ปุ๋ยเนื่องจากเห็นว่ามีความยุ่งยาก ในส่วนของโรงงานน้ำตาลจะส่งเสริมปัจจัยการผลิตต่างๆ และความรู้ทางวิชาการอ้อย รวมทั้งสนับสนุนการจัดหาครื่องจักรกลอ้อยให้แก่เกษตกร รวมทั้งทำแปลงตัวอย่างให้กับเกษตรกรที่อยู่ในโควต้าของโรงงาน

2. พัฒนาต้นแบบเครื่องฝังปุ๋ยในไร่อ้อย
พินิจ จิรัคคกุล, วิชัย โอภานุกุล และสันธาร นาควัฒนานุกุล
ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น และสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม

          การพัฒนาเครื่องฝังปุ๋ยในไร่อ้อยในประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นการนำต้นแบบจากต่างประเทศมาพัฒนาต่อ โดยปัจจุบันโรงงานเครื่องจักรกลเกษตรในประเทศได้มีการผลิตจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ซึ่งการใช้งานขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ปลูกในแต่ละภาค ซึ่งระหว่างร่องของอ้อย 80 ซม. และ 150 ซม. ชนิดของเครื่องมีทั้งแบบ 2 หรือ 4 ขาไถ อัตราการฝังปุ๋ย 30 - 75 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรจะฝังปุ๋ยลึก 10 - 30 ซม. อัตราการทำงาน 6 - 10 ไร่ต่อวัน ใช้ต้นกำลังรถแทรกเตอร์ขนาด 80 แรงม้าขึ้นไป โดยการพัฒนาลักษณะขาไถให้มีการเฉือนและประสิทธิภาพ สามารถเพิ่มอัตราการทำงานเป็น 16 ไร่ต่อวัน ที่อัตราการไถลึก 30 เซนติเมตร ซึ่งอัตราการเพิ่มประสิทธิภาพ 37.5 % และ ถ้านำไปรับจ้างในอัตราไร่ละ 400 บาทต่อไร่ ที่อายุการใช้งานเครื่องจักร 10 ปี จุดคุ้มทุนต่อปีจะอยู่ 237 ไร่ต่อปี ที่ราคาเครื่องจักร 85,000 บาท