คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
วิธีการที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยศัตรูมันขี้หนู - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: วิธีการที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยศัตรูมันขี้หนู (/showthread.php?tid=1914)



วิธีการที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยศัตรูมันขี้หนู - doa - 10-12-2016

วิธีการที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยศัตรูมันขี้หนู
มนตรี เอี่ยมวิมังสา, ไตรเดช ข่ายทอง และจิระ สุวรรณประเสริฐ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน

          การเปรียบเทียบวิธีการใช้สารเคมีและเชื้อราปฏิปักษ์ เพื่อป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยศัตรูมันขี้หนู ระหว่างปีงบประมาณ 2555 – 2556 เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัด ได้ทำการศึกษาวิจัย 2 ครั้ง ซึ่งการทดลองครั้งที่ 1 (มิถุนายน 2555 – กุมภาพันธ์ 2556) ได้เลือกพื้นที่เพื่อปลูกมันขี้หนู (Plectranthus rotundifolius (Poiret) Sprengel) ภายในศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา ในแปลงที่เคยพบการถูกทำลายจากไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita (Kofoid & White ) Chitwood โดยเลือกแปลงที่พบว่ามีตัวอ่อนระยะที่ 2 ของ M. incognita ปริมาณเฉลี่ยมากกว่า 200 ตัว/ดิน 500 กรัม วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 8 กรรมวิธี 4 ซ้ำ แบ่งพื้นที่เป็นแปลงย่อย ขนาด 4 X 5 ตารางเมตร จำนวน 32 แปลง ปลูกมันขี้หนูระยะห่าง 1 X 1 เมตร ใช้ 2 หัวพันธุ์ต่อหลุม เปรียบเทียบการใช้สาร abamectin (1.8%EC) อัตราต่างๆ ได้แก่ 10, 20 และ 30 มล.ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดดิน 1 ลิตร/หลุม จำนวน 1 ครั้ง พร้อมปลูกมันขี้หนู ในกรรมวิธีที่ 1 3 และ5 ตามลำดับ และอัตราดังกล่าว ราดดิน 2 ครั้ง คือ 1 ครั้ง พร้อมปลูก และอีก 1 ครั้งหลังปลูกได้ 1 เดือนในกรรมวิธีที่ 2 4 และ 6 ตามลำดับ เปรียบเทียบกับการ ใช้เชื้อราปฏิปักษ์ Paecilomyces lilacinus (Thom.) Samson จำนวน 3 กรัมของผลิตภัณฑ์/หลุม พร้อมปลูกมันขี้หนู (กรรมวิธีที่ 7) และการไม่ใช้สารเคมีและเชื้อราปฏิปักษ์ (Control) (กรรมวิธีที่ 8) พบว่า ทุกกรรมวิธีไม่สามารถลดการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยได้ โดยคะแนนความรุนแรงในการเกิดโรคอยู่ระหว่าง 3.69 ถึง 3.86 โดยแต่ละกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 ผลผลิตรวมทั้งหมดทั้งที่ถูกทำลายและไม่ถูกทำลายโดยไส้เดือนฝอยมีค่าเฉลี่ยคือ 568 กก./ไร่ ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ซึ่งกรรมวิธีที่ 6 (ใช้สาร abamectin 30 มล./น้ำ 20 ลิตร ราดดินพร้อมปลูกและราดซ้ำอีกครั้งหลังปลูก 1 เดือน) ดีที่สุดกว่าทุกกรรมวิธี โดยผลผลิตสูงสุด 1,171 กก./ไร่ สำหรับผลผลิตหัวดีที่ไม่ถูกไส้เดือนฝอยทำลายรวมทุกขนาดในแต่ละกรรมวิธีพบว่า มีค่าเฉลี่ย คือ 111.4 กก./ไร่ ผลผลิตไม่เป็นโรค (ไส้เดือนฝอยไม่ทำลาย) สูงสุด 351 กก./ไร่ การทดลองครั้งที่ 2 (มีนาคม – กันยายน 2556) การปลูกปอแก้วยังไม่สามารถเพิ่มปริมาณไส้เดือนฝอยรากปมในแปลงปลูกได้เพียงพอที่จะทำการทดลองได้