การแพร่ระบาดและชีววิทยาของหญ้าอีหนาว Digera muricata (L.) Mart. - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6) +--- เรื่อง: การแพร่ระบาดและชีววิทยาของหญ้าอีหนาว Digera muricata (L.) Mart. (/showthread.php?tid=1903) |
การแพร่ระบาดและชีววิทยาของหญ้าอีหนาว Digera muricata (L.) Mart. - doa - 10-12-2016 การแพร่ระบาดและชีววิทยาของหญ้าอีหนาว Digera muricata (L.) Mart. ศิริพร ซึงสนธิพร และธัญชนก จงรักไทย กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช หญ้าอีหนาว (Digera muricata (L.) Mart.) อยู่ในวงศ์ผักโขม (Amaranthaceae) เป็นวัชพืชประเภทใบกว้าง เป็นพืชฤดูเดียว อายุ 3 - 4 เดือน อาจมีความสูงถึง 180 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ ต้นที่มีความสมบูรณ์ สร้างแขนง ใบ และดอกได้มาก มีความสูง 100 - 150 เซนติเมตร สามารถสร้างเมล็ดได้ถึง 56,000 เมล็ดต่อต้น เมล็ดไม่งอกทันที่หลังแก่ หลุดจากต้น โดยเมล็ดที่รวบรวมจากผิวดินในเดือนมิถุนายน จะเริ่มงอกในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน และงอกสูงสุดในเดือนเมษายนของปีถัดไป ใบแห้งมีผลในการยับยั้งการเจริญของต้นไมยราบยักษ์ในสภาพห้องปฏิบัติการ ปัจจุบันพบระบาดในแปลงพืชไร่ พื้นที่จังหวัดสระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี แปลงผักในพื้นที่จังหวัดสระบุรี และนครพนม สาเหตุการแพร่ระบาดในประเทศไทยอาจเกิดจากการติดไปกับเครื่องจักรกลการเกษตร มีผลกระทบต่อผลผลิตของพืชผักมากกว่าพืชไร่ที่โตเร็ว มีความสูงมากกว่าอีหนาว เช่น ข้าวโพด แต่ทพให้ผลผลิตของผักคะน้าที่ปลูกในกระถางลดลง 53 - 83% ของต้นที่ปลูกโดยไม่มีหญ้าอีหนาวร่วม ขึ้นกับจำนวนต้นหรือความหนาแน่นของอีหนาว
|