การศึกษาชนิดของวัชพืชของพืชส่งออก พืชนำเข้า - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6) +--- เรื่อง: การศึกษาชนิดของวัชพืชของพืชส่งออก พืชนำเข้า (/showthread.php?tid=1898) |
การศึกษาชนิดของวัชพืชของพืชส่งออก พืชนำเข้า - doa - 10-12-2016 การศึกษาชนิดของวัชพืชของพืชส่งออก ได้แก่ ข้าวโพดฝักอ่อน และ มะม่วง พืชนำเข้า ได้แก่ อ้อย และ ข้าวฟ่าง ศิริพร ซึงสนธิพร และธัญชนก จงรักไทย กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การศึกษาชนิดวัชพืชในแปลงข้าวโพด มะม่วง อ้อย และข้าวฟ่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดวัชพืชที่พบในแปลงปลูกพืชทั้งสี่ชนิด เพื่อให้ได้ข้อมูลชนิดวัชพืชที่เป็นปัจจุบัน ทำการศึกษาตั้งแต่ตุลาคม 2554 – มกราคม 2557 โดยสำรวจในแปลงพืชทั้งสี่ชนิดในพื้นที่จังหวัดต่างๆ จำนวน 59 แปลง เป็นพืชส่งออกจำนวน 25 แปลง ได้แก่ ข้าวโพดจำนวน 13 แปลง มะม่วง จำนวน 12 แปลง พืชที่มีการนำเข้าส่วนขยายพันธุ์สองชนิด ได้แก่ ข้าวฟ่าง จำนวน 9 แปลง และอ้อย จำนวน 25 แปลง ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก นครราชสีมา นครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี สระแก้ว สระบุรี สุพรรณบุรี หนองคาย อุดรธานี และอุตรดิตถ์ พบวัชพืชทั้งหมด 198 ชนิด กระจายตัวอยู่ใน 136 สกุล ของ 40 วงศ์ จำนวนครั้งของการพบวัชพืชทั้งหมด 1,122 ครั้ง วงศ์ที่พบมากที่สุดทั้งชนิดและจำนวนครั้ง คือ วงศ์หญ้า Poaceae ซึ่งพบทั้งสิ้น 39 ชนิด ใน 27 สกุล จำนวน 284 ครั้ง (25.31%) รองลงไปได้แก่ วงศ์ทานตะวัน Asteraceae หรือ Compositae พบ 17 สกุล 21 ชนิด จำนวน 129 ครั้ง (11.50%) เป็นวัชพืชประเภทใบแคบ จำนวน 27 ชนิด ใบกว้าง 157 ชนิด และประเภทกก จำนวน 14 ชนิด วัชพืชชนิดที่พบสูงสุดได้แก่ หญ้าตีนติด (Brachiaria reptans (L.) C.A.Gardner & C.E.Hubb.) ซึ่งพบทั้งสิ้น 32 ครั้ง จากการสำรวจ 59 แปลง คิดเป็นร้อยละ 2.852% ของจำนวนครั้งทั้งหมดที่พบวัชพืช รองลงไปได้แก่ หญ้าปล้องข้าวนก หญ้าตีนนก (Digitaria ciliaris (Retz.) Koel.) และหญ้ายาง (Euphorbia heterophylla L.) นอกจากนี้วัชพืชที่ไม่สามารถระบุชนิด 3 ชนิด เป็นวัชพืชอายุฤดูเดียว ประเภทใบแคบ (ใบเลี้ยงเดี่ยว วงศ์หญ้า) สองชนิด และวัชพืชใบกว้าง ทานตะวันหนู (วงศ์ทานตะวัน) หนึ่งชนิด ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี คาดว่าเป็นพืชอาหารสัตว์และระบาดเข้ามาในแปลงปลูกพืชส่วนที่เหลือไม่ทราบเส้นทางและสาเหตุการระบาด
|