การศึกษาประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดเชื้อรา C. eragrostidis - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6) +--- เรื่อง: การศึกษาประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดเชื้อรา C. eragrostidis (/showthread.php?tid=1895) |
การศึกษาประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดเชื้อรา C. eragrostidis - doa - 10-12-2016 การศึกษาประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดเชื้อรา Curvularia eragrostidis สาเหตุโรคพืช สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ, พรพิมล อธิปัญญาคม, ชนินทร ดวงสอาด และอภิรัชต์ สมฤทธิ์ กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดเชื้อรา Curvularia eragrostidis สาเหตุโรคใบไหม้ของกล้าปาล์มน้ำมัน ทั้งในห้องปฎิบัติการ เรือนปลูกพืชทดลอง และแปลงกล้าในพื้นที่ปลูก พบว่า สาร 6 ชนิด คือ difenoconazole 25%W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร mancozeb 80%WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร propiconazole 25%W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร thiram 80% WG อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร captan 50%WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และ azoxystrobin + difenoconazole 20% + 12.5%W/V SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเชื้อรา C. eragrostidis สาเหตุโรคใบไหม้ของกล้าปาล์มน้ำมัน โดยพ่นสารเมื่อเริ่มพบการระบาดของโรค และพ่นทุก 7 วัน ซึ่งสาร mancozeb 80%WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพดีที่สุด ส่วนสาร propiconazole 25%W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นพิษต่อกล้าปาล์มน้ำมันทำให้กล้าปาล์มน้ำมันเจริญเติบโตไม่ปกติแคระแกรน
|