คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การใช้สารสกัดสะเดาป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวด้วยวิธี Trunk injection - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: การใช้สารสกัดสะเดาป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวด้วยวิธี Trunk injection (/showthread.php?tid=1864)



การใช้สารสกัดสะเดาป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวด้วยวิธี Trunk injection - doa - 10-11-2016

การใช้สารสกัดสะเดาป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว Coconut black-headed caterpillar; Opisina arenosella (Walker) ด้วยวิธี Trunk injection
สุเทพ สหายา, พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, สิริกัญญา ขุนวิเศษ, นลินา พรมเกศา, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          การใช้สารสกัดสะเดาป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว Coconut black-headed caterpillar; Opisina arenosella (Walker) ด้วยวิธี Trunk injection ดำเนินการทดลองที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม 2556 วางแผนการทดลองแบบ RCB 5 ซ า มี 5 กรรมวิธี ได้แก่ สารสกัดสะเดา 0.1%Az อัตรา 150 มิลลิลิตร/ต้น สาร emamectin benzoate 1.92%EC อัตรา 10 และ 30 มล./ต้น สาร emamectin benzoate 5%WG อัตรา 10 กรัม/ต้น และกรรมวิธีไม่ใช้สาร ผลการทดลองพบว่า การใช้สาร emamectin benzoate 1.92%EC อัตรา 10 และ 30 มล./ต้น มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวตั้งแต่หลังการใช้สาร 15 วัน เป็นต้นไป ทั้งสองกรรมวิธีมีประสิทธิภาพ 100% หลังใช้สารแล้ว 60 วัน กรรมวิธีการใช้สาร emamectin benzoate 5%WG อัตรา 10 กรัม/ต้น มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวตั้งแต่หลังการใช้สาร 30 วัน เป็นต้นไป แต่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าการใช้สาร emamectin benzoate 1.92%EC ส่วนการใช้สารสกัดสะเดา 0.1%Az อัตรา 150 มิลลิลิตร/ต้น ไม่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว