ศึกษาประสิทธิภาพมาตรการทางสุขอนามัยพืชกับผลองุ่นสดนำเข้าจากสาธารณรัฐเปรู - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6) +--- เรื่อง: ศึกษาประสิทธิภาพมาตรการทางสุขอนามัยพืชกับผลองุ่นสดนำเข้าจากสาธารณรัฐเปรู (/showthread.php?tid=1860) |
ศึกษาประสิทธิภาพมาตรการทางสุขอนามัยพืชกับผลองุ่นสดนำเข้าจากสาธารณรัฐเปรู - doa - 10-11-2016 ศึกษาประสิทธิภาพมาตรการทางสุขอนามัยพืชกับผลองุ่นสดนำเข้าจากสาธารณรัฐเปรู อลงกต โพธิ์ดี, ศรีวิเศษ เกษสังข์, สุนัดดา เชาวลิต, วาสนา ฤทธิ์ไธสง และคมศร แสงจินดา กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การศึกษาประสิทธิภาพมาตรการทางสุขอนามัยพืชกับผลองุ่นสดนำเข้าจากประเทศเปรู ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2554 - กันยายน 2556 ซึ่งประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช และพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 กำหนดให้ผลสดของพืชสกุลวิตีส (Vitis spp.) เป็นสิ่งต้องห้าม การนำเข้าผลองุ่น (Vitis vinifera) สดจากประเทศเปรูนั้น ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลองุ่นสดจากสาธารณรัฐเปรู พ.ศ. 2553 โดยมีศัตรูพืชกักกันที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ชนิด ได้แก่ Anastrepha fraterculus, Ceratitis capitata, Macrosiphum euphorbiae, Parthenolecanium corni, Aspidiotus nerii, Selenaspidus articulatus, Linepithema humile, Peridroma saucia, Spodoptera frugiperda และ Helix aspersa ซึ่งเงื่อนไขการนำเข้ามีข้อกำหนดสำหรับการกำจัดศัตรูพืช คือ กำหนดให้ดำเนินการกำจัดแมลงวันผลไม้ South American fruit fly; A. fraterculus และ Mediterranean fruit fly; C. capitata ด้วยวิธีกำจัดศัตรูพืชด้านสุขอนามัยพืชด้วยความเย็นตามอุณหภูมิที่กำหนด คือ ที่อุณหภูมิ 1.11 องศาเซลเซียส นาน 15 วัน หรือที่อุณหภูมิ 1.67 องศาเซลเซียส นาน 17 วัน จากการสุ่มตัวอย่างผลองุ่นสดพบว่า สายพันธุ์สำคัญที่นำเข้า คือ Red Globe ซึ่งมาจากแหล่งปลูก ได้แก่ Ica และ Piura โดยเป็นสินค้าขนส่งทางน้ำ และพบศัตรูพืชติดเข้ามากับผลองุ่นสด ได้แก่ เพลี้ยแป้ง และเชื้อราที่เกิดขึ้นภายหลังการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ผลสดองุ่นที่มี รอยแผล แตก หรือช้ำ บางครั้งจะพบตัวอ่อนของแมลงในวงศ์ดิบเทอร่า (Diptera) ในรอยแผลดังกล่าวซึ่งไม่มีชีวิต ทั้งนี้ยังพบไข่ของแมลงช้างปีกใสและใยแมงมุมติดมากับพวงองุ่น สำหรับข้อกำหนดการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นนั้น ในช่วงแรกที่มีการอนุญาตให้นำเข้าตามเงื่อนไขฉบับดังกล่าวพบว่า การวางตำแหน่งแท่งวัดอุณหภูมิไม่เป็นไปตามข้อกำหนด แต่ปัจจุบันการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด รวมทั้งยังไม่มีการตรวจพบแมลงวันผลไม้ A. fraterculus และ C. capitata ติดเข้ามากับผลองุ่นสดนำเข้าจากประเทศเปรู
|