ศึกษาประสิทธิภาพมาตรการสุขอนามัยพืชกับผลองุ่นสดนำเข้าจากเครือรัฐออสเตรเลีย - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6) +--- เรื่อง: ศึกษาประสิทธิภาพมาตรการสุขอนามัยพืชกับผลองุ่นสดนำเข้าจากเครือรัฐออสเตรเลีย (/showthread.php?tid=1858) |
ศึกษาประสิทธิภาพมาตรการสุขอนามัยพืชกับผลองุ่นสดนำเข้าจากเครือรัฐออสเตรเลีย - doa - 10-11-2016 ศึกษาประสิทธิภาพมาตรการสุขอนามัยพืชกับผลองุ่นสดนำเข้าจากเครือรัฐออสเตรเลีย วรัญญา มาลี, ณัฏฐพรึ อุทัยมงคล, ปรียพรรณึ พงศาพิชณ์, พรพิมลึ อธิปัญญาคม, ชมัยพรึ บัวมาศ, ดาราพรึ รินทะรักษ์, ศิริพร ซึงสนธิพร และอิทธิพล บรรณาการ กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การศึกษาประสิทธิภาพมาตรการสุขอนามัยพืชกับผลองุ่นสดนำเข้าจากเครือรัฐออสเตรเลีย ดำเนินการที่กลุ่มวิจัยการกักกันพืช กลุ่มกีฏและสัตววิทยา กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และด่านตรวจพืชท่าเรือแหลมฉบัง ด่านตรวจพืชลาดกระบัง ด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึงกันยายน 2556 เพื่อประเมินประสิทธิภาพมาตรการสุขอนามัยพืชที่บังคับใช้สำหรับการนำเข้าผลองุ่นสดจากเครือรัฐออสเตรเลียในปัจจุบัน จากข้อมูลการนำเข้าพบว่าองุ่นที่นำเข้ามาจากแปลงปลูกในเขตซัลเรเซีย (Sunraysia district) ของรัฐวิกตอเรียและรัฐนิวเซาท์เวล ซึ่งอยู่ในเขตปลอดแมลงวันผลไม้ และจากแปลงปลูกในรัฐวิกตอเรียและนิวเซาท์เวลนอกเขตปลอดแมลงวันผลไม้ที่กำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็น (cold treatment) ระหว่างการขนส่งทางเรือ ผลการตรวจสอบศัตรูพืช ณ ด่านตรวจพืชที่นำเข้าไม่พบศัตรูพืชกักกันมีชีวิต แต่พบหอยแมลงไม่มีชีวิต ได้แก่ เพลี้ยแป้งระยะตัวอ่อน ตัวเต็มวัย และกลุ่มไข่ ทราบชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pseudococcus sp. และ P. longispinus แมลงในอันดับ Diptera ระยะหนอน ซึ่งไม่ใช่แมลงในวงศ์ Tephritidae แมลงหางหนีบ และตัวอ่อนแมลงสาบ พบแมลงมีชีวิต ได้แก่ ด้วง Dicranolaius bellulus ซึ่งเป็นแมลงห้ำ นอกจากนี้ยังพบองุ่นที่มีอาการผลเน่าเกิดจาก เชื้อรา Botrytis sp และเมล็ดวัชพืชติดมากับพวงองุ่น ผลการศึกษาไม่พบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตติดมากับผลองุ่นนำเข้าแสดงให้เห็นว่ามาตรการสุขอนามัยพืชที่บังคับใช้ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการป้องกันมิให้ศัตรูพืชกักกันเข้ามาในประเทศไทยได้ อย่างไรก็ตามควรมีการเฝ้าระวังโดยการตรวจนำเข้าอย่างเข้มงวดและบันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐานเนื่องจากมีการตรวจพบเมล็ดวัชพืชและแมลงมีชีวิตแม้ว่าจะไม่ใช่ศัตรูพืชกักกัน
|