คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การวิจัยและพัฒนาการผลิตชุดตรวจสอบเชื้อไวรัส - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: การวิจัยและพัฒนาการผลิตชุดตรวจสอบเชื้อไวรัส (/showthread.php?tid=1846)



การวิจัยและพัฒนาการผลิตชุดตรวจสอบเชื้อไวรัส - doa - 10-10-2016

การวิจัยและพัฒนาการผลิตชุดตรวจสอบเชื้อไวรัส
เยาวภา ตันติวานิช และศิวิไล ลาภบรรจบ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน

          การนำเทคนิค Gold labeled IgG flow test (GLIFT) มาพัฒนาและปรับใช้เป็นชุดตรวจสอบไวรัสโรคใบด่างข้าวโพด (SCMV) ที่สามารถตรวจสอบได้แม่นยำ ใช้ง่าย สะดวกและอ่านผลได้รวดเร็ว โดยอาศัยหลักการทางเซรุ่มวิทยา (serology) และ lateral flow technique บนแผนไนโตรเซลลูโลสเมมเบรน (Nitrocellulose membrane; NCM) การเตรียมและทดสอบคุณภาพ IgG ของ SCMV โดยการตรวจสอบด้วยวิธี Dot immunobinding assay (DIBA) เตรียม Gold conjugated IgG โดยนำอนุภาคทอง (colloidal gold) มาเชื่อมต่อ (conjugate) กับ IgG ของ SCMV และเตรียม conjugated release pad (CRP) โดยใช้ปริมาณ 100 - 120 ไมโครลิตร/15 – 18 เซนติเมตร (6.6 ไมโครลิตร/เซนติเมตร) ทำเส้น control line ด้วย GAR (Goat anti rabbit เข้มข้นอัตรา 1:3) และ test line ด้วย IgG ของ SCMV ปริมาณ 40 ไมโครลิตร/2.5 X 18 เซนติเมตร (2.2 ไมโครลิตร/เซนติเมตร) บนแผ่น NCM (วัสดุเป็น S&S – AE 99, ขนาด 8 ไมโครเมตร) เมื่อประกอบเป็นชุดตรวจสอบแล้ว และทำการทดสอบกับน้ำคั้นใบข้าวโพดจากต้นข้าวโพดที่เป็นโรคพบว่า ชุดตรวจสอบ GLIFT kit ที่ไดพัฒนาปรับใชครั้งนี้สามารถตรวจสอบไวรัสใบด่างข้าวโพดได้ที่ความเข้มข้น 1 : 10 โดยสามารถทราบผลไดภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว คือ เสน control line และ test line ปรากฏสีในเวลาประมาณ 5 นาที