คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ความหลากชนิดของมดในพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตากและป่าธรรมชาติของจังหวัดตาก - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: ความหลากชนิดของมดในพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตากและป่าธรรมชาติของจังหวัดตาก (/showthread.php?tid=1844)



ความหลากชนิดของมดในพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตากและป่าธรรมชาติของจังหวัดตาก - doa - 10-10-2016

ความหลากชนิดของมดในพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตากและป่าธรรมชาติของจังหวัดตาก
ชมัยพร บัวมาศ, ชลิดา อุณหวุฒิ, ลักขณา บำรุงศรี และประยูร สมฤทธิ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2

          การศึกษาความหลากชนิดของมดในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก จังหวัดตาก ระหว่างตุลาคม 2553 ถึงกันยายน 2556 ได้สำรวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างมด จากแปลงปลูกชา กาแฟ อะโวกาโด และ มะคาเดเมีย โดยใช้วิธีวางกับดักน้ำหวานกับดักชีส กับดักหลุม ร่อนซากใบไม้ และการจับด้วยมือ นำตัวอย่างทั้งหมดมาจำแนกชนิด พบมดทั้งสิ้น 55 ชนิด 37 สกุล 8 วงศ์ย่อย โดยแปลงชา และอะโวกาโด พบมดจำนวน 31 ชนิด แปลงกาแฟ จำนวน 29 ชนิด และแปลงมะคาเดเมีย จำนวน 22 ชนิด เมื่อพิจารณาชนิดมดที่เด่นในพื้นที่พบว่า แปลงมะคาเดเมีย มีมดจำนวน 8 ชนิด แปลงอะโวกาโด ชา และกาแฟ มีจำนวน 7, 5 และ 3 ชนิด และมีมดน้ำผึ้ง (Anoplolepis gracilipes Smith) เป็นมดที่พบทุกครั้งและทุกพื้นที่สำรวจ มดก้นห้อยธรรมดา (Dolichoderus thoracicus Smith) พบทุกครั้งของการสำรวจในแปลงมะคาเดเมีย อะโวกาโด และกาแฟ ขณะที่มดไอ้ชื่นดำ (Odontoponera denticulata Smith) พบในแปลงมะคาเดเมีย อะโวกาโด และชา นอกจากนี ยังพบชนิดมดที่เป็นรายงานการพบครั้งแรก (new recorded) ในประเทศไทย จำนวน 1 ชนิด คือ Cerapachys sauteri Forel ซึ่งพบในแปลงกาแฟ