คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสาบม่วง (Praxelis clematidea R.M King & H. Rob.) - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสาบม่วง (Praxelis clematidea R.M King & H. Rob.) (/showthread.php?tid=1839)



ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสาบม่วง (Praxelis clematidea R.M King & H. Rob.) - doa - 10-10-2016

ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสาบม่วง (Praxelis clematidea R.M King & H. Rob.)
ยุรวรรณ อนันตนมณี, จรรยา มณีโชติ, สิริชัย สาธุวิจารณ์ และสุพัตรา ชาวกงจักร์
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพันนาการอารักขาพืช, ผู้เชี่ยวชาญ สำนักวิจัยพันนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพันนาการเกษตรกาฬสินธุ์ สำนักวิจัยและพันนาการเกษตรเขตที่ 3

          ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสาบม่วง (Praxelis clematidea R.M King & H. Rob.) ดำเนินการที่โรงเรือนกลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชและพื้นที่เกษตรกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในปี 2554 - 56 พบว่า สาบม่วงเป็นพืชฤดูเดียวมีอายุตั้งแต่เริ่มงอกจนติดเมล็ดประมาณ 45 - 50 วัน ดอกสีม่วงมีประมาณ 35 ดอกต่อต้น และสามารถสร้างเมล็ดได้ถึง 30 - 40 เมล็ดต่อดอก ไม่พบระยะพักตัวของเมล็ดสามารถเจริญเติบโตได้เมื่อได้รับความชื้นและแสง สาบม่วงมีเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดและเจริญเติบโตได้ดีในดินทราย (31.2%) รองลงมา คือ ดินร่วน (28.6%) ดินเหนียว (20.8%) และดินลูกรัง (14%) ตามลำดับ

          การแพร่กระจายของสาบม่วงพบการแพร่กระจายของสาบม่วงในแปลงปลูกมันสำปะหลัง ยางพารา สับปะรด และไม้ผล ค่อนข้างหนาแน่น ซึ่งพบในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง(65%) ยางพารา(20%) สับปะรด(12%) และไม้ผล (3%)