คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การจำแนกชนิดของราสกุล Colletotrichum สาเหตุโรคพืชโดยใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาและพันธุกรรม - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: การจำแนกชนิดของราสกุล Colletotrichum สาเหตุโรคพืชโดยใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาและพันธุกรรม (/showthread.php?tid=1833)



การจำแนกชนิดของราสกุล Colletotrichum สาเหตุโรคพืชโดยใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาและพันธุกรรม - doa - 10-10-2016

การจำแนกชนิดของราสกุล Colletotrichum สาเหตุโรคพืชโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลักษณะทางพันธุกรรม
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และชนินทร ดวงสอาด
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          ผลการสำรวจรวบรวมและเก็บตัวอย่างสาเหตุโรคพืชที่เกิดจากรา Colletotrichum ได้ตัวอย่างโรคพืชทั้งหมด 111 ตัวอย่าง จากพืชอาศัยจำนวน 19 ชนิด ในจังหวัดกำแพงเพชร กาญจนบุรี กรุงเทพฯ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชุมพร เชียงใหม่ เชียงราย นครปฐม นครนายก นครราชสีมา ตราด บุรีรัมย์ ปทุมธานี เพชรบูรณ์ เพชรบุรี พะเยา แม่ฮ่องสอน ระยอง ราชบุรี ลำพูน ศรีสะเกศ สระบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุโขทัย สุราษฎร์ธานี อุบลราชธานี และอุตรดิตถ์ ตัวอย่างโรคพืชที่รวบรวมได้ทั้งหมดนำมาศึกษาในห้องปฏิบัติการโดยการศึกษาราจากเนื้อเยื่อพืชโดยตรง การทำ moist chamber แยกราจากเนื้อเยื่อพืชที่เป็นโรค และศึกษาจำแนกชนิดเชื้อโดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา จากการศึกษาจำแนกได้รา Colletotrichum จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ Colletotrichum acutatum, C. capsici, C. circinans, C. falcatum, C. gloeosporioides, C. musae และ unidentified species Colletotrichum spp. 7 ชนิด ซึ่งมีลักษณะของสปอร์คล้ายๆ กัน ยังไม่สามารถจำแนกชนิดได้แยกให้ได้เชื้อบริสุทธิ์ และพบว่า C. musae เจริญได้ดีที่สุดบนอาหาร Oat Meal agar รองลงมาได้แก่ Potato Dextrose Agar และ Czapek Dox Agar จากการศึกษาครั้งนี้ได้เก็บเชื้อไว้ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส เพื่อศึกษาการจำแนกชนิดของเชื้อในระดับ species และสกัด DNA ของรา Colletotrichum จำนวน 15 ไอโซเลท เก็บรักษา DNA ไว้ที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส และจัดเก็บตัวอย่างแห้งโรคพืชไว้ในพิพิธภัณฑ์โรคพืชที่ กลุ่มวิจัยโรคพืช ตึกอิงคศรีกสิการ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร