การศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของรา Didymella bryoniae (Auersw.) Rehm. - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6) +--- เรื่อง: การศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของรา Didymella bryoniae (Auersw.) Rehm. (/showthread.php?tid=1830) |
การศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของรา Didymella bryoniae (Auersw.) Rehm. - doa - 10-10-2016 การศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของรา Didymella bryoniae (Auersw.) Rehm. ทัศนาพร ทัศคร, ธารทิพย ภาสบุตร, วัชรี วิทยวรรณกุล และอภิรัชต์ สมฤทธิ์ กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ได้ศึกษาการเจริญของเชื้อสาแหตุโรคจำนวน 3 ไอโซเลทบนอาหารสูตรต่างๆ และนำไปบ่มเชื้อที่อุณหภูมิ 10, 20 และ 25 องศาเซลเซียส พบว่า เชื้อราสาเหตุโรคสามารถเจริญได้ดีทั้ง 3 ไอโซเลท ในทุกสูตรอาหาร ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และจากนั้นจึงได้ทำการบ่มเชื้อต่อเพื่อศึกษาสูตรอาหารและอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการสร้าง pycnidia ของเชื้อราสาเหตุ ซึ่งหลังการทดลอง 40 วัน พบว่า ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เชื้อราสามารถสร้าง pycnidia ได้ทุกสูตรอาหาร และสร้างได้เป็นจำนวนมากบนอาหาร สูตร MEA และ PCA และได้ศึกษาการติดเชื้อบนเมล็ดของแตงเมล่อน แคนตาลูป เทียบกับพันธุ์การค้า โดยการเก็บเมล็ดจากผลที่เป็นโรคและไม่เป็นโรค มาวางทดสอบบนอาหาร WA และตรวจนับเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อบนเมล็ดและเปอร์เซ็นต์การงอก ผลการทดลองพบว่า เมล็ดแตงที่เก็บมามีทั้งการปนเปื้อนและการติดเชื้อที่เมล็ดทั้งในผลที่เป็นโรคและผลไม่เป็นโรค ซึ่งการปนเปื้อนที่มีการติดเชื้อบนเปลือกหุ้มเมล็ดนั้น เมล็ดสามารถงอกและเจริญได้ปกติ และเชื้อราเข้าทำลายต้นอ่อนทีหลัง ซึ่งพบมีเพียง 2 - 6 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการติดเชื้อบนเมล็ดนั้น ทำให้เมล็ดไม่งอกและเชื้อรามีการเจริญคลุมเมล็ด ซึ่งจากการทดลองพบว่าเมล็ดแตงทั้งสองชนิดที่เก็บมามีการติดเชื้อและเมล็ดไม่งอก 23 - 71 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับเมล็ดพันธุ์การค้าที่พบเพียง 9 เปอร์เซ็นต์
|