คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การจำแนกชนิดของราสกุล Botryosphaeria สาเหตุโรคพืชโดยใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาและพันธุกรรม - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: การจำแนกชนิดของราสกุล Botryosphaeria สาเหตุโรคพืชโดยใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาและพันธุกรรม (/showthread.php?tid=1829)



การจำแนกชนิดของราสกุล Botryosphaeria สาเหตุโรคพืชโดยใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาและพันธุกรรม - doa - 10-10-2016

การจำแนกชนิดของราสกุล Botryosphaeria สาเหตุโรคพืชโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลักษณะทางพันธุกรรม
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และชนินทร ดวงสอาด
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          ผลการรวบรวมและเก็บตัวอย่างสาเหตุโรคพืชที่เกิดจากรา Botryosphaeria ได้ตัวอย่างโรคพืชทั้งหมด 62 ตัวอย่าง จากพืชทั้งหมด 7 ชนิด จากจังหวัดกำแพงเพชร กรุงเทพฯ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ ชลบุรี นครปฐม นครราชสีมา เพชรบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง ราชบุรี สกลนคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และสุโขทัย ผลจากการศึกษาแยกราได้ทั้งหมดจำนวน 53 ไอโซเลท จำแนกชนิดเชื้อโดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาจำแนกได้ราทั้งหมด 4 genera 5 species ได้แก่ Lasiodiplodia theobromae, L. pseudotheobromae, Dothiorella mangiferae, Botryosphaeria และ Fusicoccum และจากการศึกษาระดับพันธุกรรมของราที่แยกได้จากโรคเปลือกแตกยางไหลของมะเม่า จากการศึกษาระดับพันธุกรรมของราที่แยกได้จากโรคเปลือกแตกยางไหลของมะเม่า จำแนกชนิดได้เป็นรา L. pseudotheobromae และพบว่ารา L. pseudotheobromae และรา L. Theobromae เจริญได้ดีบนอาหาร Oat Meal Agar รองลงมาได้แก่ Potato Dextrose และ Malt Extract รา Fusicoccum เจริญได้ดีบนอาหาร รองลงมาได้แก่ Potato Dextrose Agar และ Oat Metal Agar และจัดเก็บตัวอย่างแห้งโรคพืชไว้ในพิพิธภัณฑ์โรคพืชที่ กลุ่มวิจัยโรคพืช ตึกอิงคศรีกสิการ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร