คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การควบคุมโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียของปทุมมาโดยเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: การควบคุมโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียของปทุมมาโดยเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ (/showthread.php?tid=1787)



การควบคุมโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียของปทุมมาโดยเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ - doa - 08-09-2016

การควบคุมโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียของปทุมมาโดยเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์
ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, วิภาดา ทองทักษิณ และสุธามาศ ณ น่าน
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1

          เก็บตัวอย่างดิน ปุ๋ยคอก และรากพืช เพื่อหาเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์จาก 4 จังหวัด ภาคเหนือ สามารถแยกเชื้อแบคทีเรียบริสุทธิ์ได้ 100 ไอโซเลท นำมาทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ Ralstonia solanacearum ในห้องปฏิบัติการโดยวิธี Direct bioassay (Disc diffusion method) ได้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์จำนวน 8 ไอโซเลท นำเชื้อปฏิปักษ์ดังกล่าวมาทดสอบความสามารถในการควบคุมโรคเหี่ยวของปทุมมาที่เกิดจากเชื้อ R. solanacearum ในสภาพเรือนปลูกพืชทดลองพบว่า มีเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ 5 ไอโซเลท ที่สามารถควบคุมโรคเหี่ยวของปทุมมาได้โดยสามารถควบคุมโรคเหี่ยวได้ 60 % นำเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง 4 ไอโซเลท ไปทดสอบการควบคุมโรคเหี่ยวของปทุมมาในแปลงทดลองพบว่า เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ 4415 และรากอ้อย no.6 สามารถควบคุมโรคเหี่ยวในแปลงทดลองได้ 43 และ 40 % ตามลำดับ นำเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง 2 ไอโซเลทไปทดสอบความสามารถในการควบคุมโรคในสภาพแปลงเกษตรกรพบว่า กรรมวิธีเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ 4415 ร่วมกับรากอ้อย no.6 สามารถควบคุมโรคเหี่ยวได้ดีที่สุด โดยสามารถควบคุมโรคได้ 46.67 % ในขณะที่กรรมวิธี 4415 และรากอ้อย no.6 สามารถควบคุมโรคได้ 39.17 และ 34.17 % ตามลำดับ