การจัดการศัตรูขิงแบบผสมผสาน - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27) +--- เรื่อง: การจัดการศัตรูขิงแบบผสมผสาน (/showthread.php?tid=1786) |
การจัดการศัตรูขิงแบบผสมผสาน - doa - 08-09-2016 การจัดการศัตรูขิงแบบผสมผสาน ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, บูรณี พั่ววงษ์แพทย์, สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น และเสริมศิริ คงแสงดาว กลุ่มวิจัยโรคพืช กลุ่มกีฏและสัตววิทยา กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การศึกษาการจัดการศัตรูขิงแบบผสมผสาน ระหว่างตุลาคม 2551 - กันยายน 2552 ในแปลงปลูกขิงของเกษตรกร อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยทำการทดลองจำนวน 2 แปลง เป็นแปลงทดสอบ 1 แปลง และแปลงเปรียบเทียบ 1 แปลง มีการสำรวจการระบาดของศัตรูขิงทุกๆ 7 วัน ตั้งแต่ พฤษภาคม – กันยายน 2552 พบเฉพาะโรคเหี่ยวที่เกิดจากแบคทีเรีย R. solanacearum เท่านั้น ไม่พบแมลงศัตรูขิง ได้ทำการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวในแปลงปลูกขิงผสมผสานโดยรีบขุดต้นที่เป็นโรคเหี่ยวออกจากแปลงและโรยด้วยยูเรียและปูนขาวในอัตราส่วน 1 : 10 ทันที่ แต่เนื่องจากมีฝนตกหนักการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวได้ผลไม่เต็มที่ทำให้จนเดือนสุดท้ายก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต พบโรคเหี่ยวในแปลงถึง 40 % สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้ำหนัก 1,100 กิโลกรัม/ไร่ ราคาขายขิงแก่กิโลกรัมละ 13 บาท ในขณะที่แปลงเปรียบเทียบของเกษตรกรเก็บเกี่ยวตั้งแต่ปลูกได้ 3 - 4 เดือน เนื่องจากเป็นโรคมาก โดยเก็บขายเป็นขิงอ่อนขายได้กิโลกรัมละ 5 บาท
|