การเฝ้าระวังการเกิดและการแพร่กระจายของแบคทีเรีย Pantoea stewartii - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27) +--- เรื่อง: การเฝ้าระวังการเกิดและการแพร่กระจายของแบคทีเรีย Pantoea stewartii (/showthread.php?tid=1783) |
การเฝ้าระวังการเกิดและการแพร่กระจายของแบคทีเรีย Pantoea stewartii - doa - 08-09-2016 การเฝ้าระวังการเกิดและการแพร่กระจายของแบคทีเรีย Pantoea stewartii ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, พีระวรรณ พัฒนวิภาส, ณัฏฐพร อุทัยมงคล และชลธิชา รักใคร่ กลุ่มวิจัยโรคพืช และกลุ่มวิชากักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช เชื้อแบคทีเรีย Pantoea stewartii สาเหตุโรคเหี่ยวของข้าวโพด (stewart’s bacterial wilt disease of corn) เป็นเชื้อที่มีความสำคัญทางกักกันพืช จากการที่ประเทศไทยมีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นเส้นทาง (pathway) ของเชื้อนี้ที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ เนื่องจากเป็นโรคที่ถ่ายทอดได้ทางเมล็ดพันธุ์ (seed transmission) จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจติดตามและเฝ้าระวังโรคเหี่ยวของข้าวโพดเชื้อนี้อย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในการจัดทำบัญชีรายชื่อศัตรูพืช วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช และการกำหนดพื้นที่ปลอดศัตรูพืช จากการสำรวจแหล่งปลูกข้าวโพด 5 แหล่ง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 - กันยายน 2552 จำนวน 50 แปลง ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอนจำนวน 10 แปลง จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 10 แปลง จังหวัดเชียงรายจำนวน 10 แปลง จังหวัดลำปางจำนวน 10 แปลง และจังหวัดอุตรดิตถ์จำนวน 10 แปลง ไม่พบอาการโรคเหี่ยวบนต้นกล้าของข้าวโพด ได้ทำการเก็บตัวอย่างที่มีอาการใบไหม้ (leaf blight) ที่มีลักษณะอาการคล้ายกับอาการโรคเหี่ยวในต้นข้าวโพดจำนวน 60 ตัวอย่าง นำมาตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย P. stewartii ด้วยวิธี enzyme linked immunosorbent assay (ELISA) โดยใช้ชุดตรวจสอบสำเร็จรูปจากบริษัท Agdia, Elkhart, Indiana, USA พบว่า ทุกตรวจอย่างตรวจไม่พบเชื้อ P. stewartii
|