การศึกษาชนิดวัชพืชในพืชส่งออก : ถั่วลันเตา - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27) +--- เรื่อง: การศึกษาชนิดวัชพืชในพืชส่งออก : ถั่วลันเตา (/showthread.php?tid=1770) |
การศึกษาชนิดวัชพืชในพืชส่งออก : ถั่วลันเตา - doa - 08-09-2016 การศึกษาชนิดวัชพืชในพืชส่งออก : ถั่วลันเตา จันทร์เพ็ญ ประคองวงศ์, เบญจมาภรณ์ ลิ้มประเสริฐ และมัตติกา ทองรส สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, สำนักการเกษตรอำเภอดำเนินสะดวก และสำนักวิจัยพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 การสำรวจและศึกษาชนิดวัชพืชในแหล่งปลูกถั่วลันเตาได้ดำเนินงานในพื้นที่ปลูกถั่วลันเตาซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย คือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และน่าน ช่วงระยะเวลาดำเนินงานตุลาคม 2550 ถึงกันยายน 2552 ทำการสำรวจชนิดและปริมาณวัชพืชโดยใช้แปลงสุ่ม (sampling plot) ขนาด 0.5 x 0.5 เมตร วางแปลงสุ่มโดยวิธี unrestricted sampling method พบวัชพืชทั้งหมด 44 ชนิด จำแนกได้ 19 วงศ์ (family) 49 สกุล (genus) 44 พันธุ์ (species) วัชพืชชนิดที่พบในปริมาณมาก และพบบ่อยครั้งในการสำรวจมากที่สุดจะเป็นวัชพืชเด่น (dominant species) โดยพิจารณาจากค่า sum dominance ratio (SDR) ซึ่งได้แก่ สาบแร้งสาบกา (Ageratum conyzoides L.) มีค่า SDR เท่ากับ 22.3 เปอร์เซ็นต์ ส่วนวัชพืชเด่นลำดับรอง พบ 4 ชนิด คือ หญ้าตีนกา (Eleusine indica L.) Gaertn. ส้มกบ (Oxalis corriculata L.) หญ้าตีนนก (Digitaria adscendens (L.) Scop. และหญ้านกสีชมพู (Echinochloa colona (L.) Link. มีค่า SDR เท่ากับ 13.5, 9.8, 8.5 และ 6.7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ชนิดวัชพืชที่รวบรวมได้ในครั้งนี้สามารถนำไปจัดทำเป็นบัญชีรายชื่อวัชพืชตามหลักสากล เตรียมส่งให้ประเทศคู่ค้าในกรณีที่มีการร้องขอจากประเทศที่นำเข้าถั่วลันเตา หรือในกรณีการเจรจาขอเปิดตลาดใหม่ ตามข้อตกลงสุขอนามัยพืช (SPS Agrement) นอกจากนี้ยังใช้เป็นหลักฐานในการสืบค้นข้อมูล และการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับวัชพืชต่อไป
|