คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไวรัส NPV เพื่อควบคุมหนอนกระทู้ผัก - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไวรัส NPV เพื่อควบคุมหนอนกระทู้ผัก (/showthread.php?tid=1754)



การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไวรัส NPV เพื่อควบคุมหนอนกระทู้ผัก - doa - 08-08-2016

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไวรัส NPV เพื่อควบคุมหนอนกระทู้ผัก
อัจฉรา ตันติโชดก, อิศเรส เทียนทัด และสมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทำการทดลองหาอัตราการผสมของสารช่วยในการแขวนลอย (emulsifier) สารช่วยเปียกใบ (wetter/spreader) และสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวเพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์ (filler) โดยเลือกใช้สาร Gum xanthan เป็นตัวช่วยให้แขวนลอย ใช้สาร emulsogen เป็นตัวช่วยในการเปียกใบ และใช้สาร glycerine เป็นตัวเพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์ โดยทำการทดลองผสมสาร Gum xanthan ที่อัตรา 1.0, 1.5, 2.0, 2.5 และ 3.0 กรัม/สารแขวนลอย SlNPV 1 ลิตร ทดลองใช้สาร emulsogen อัตรา 10, 20, 30, 40 และ 50 มล./สารแขวนลอย SeNPV 1 ลิตร ทดลองใช้ glycerine ที่อัตรา 100, 150, 200 มล./สารแขวนลอย SlNPV 1 ลิตร จากการทดลองพบว่า สาร Gum xanthan จะช่วยให้สารแขวนลอย SlNPV คงตัวอยู่ได้ดีที่ความเข้มข้น 2.0-2.5 กรัม/ลิตร โดยที่อัตรา 3.0 กรัม ทำให้สารแขวนลอยเข้มข้นเกินไปทำให้การรวมตัวกับสารอื่นๆ ไม่ดี การใช้สารช่วยเปียกใบ emulsogen ทุกอัตราที่ 10, 20, 30, 40 และ 50 มล./ลิตร ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อนำมาผสมกับสารแขวนลอยไวรัส การใช้ glycerine เป็นสารช่วยเพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์พบว่า ทุกอัตราที่ 100, 150 และ 200 มล./ลิตร สามารถรวมตัวได้ดีกับสารแขวนลอย SlNPV

          การทดลองทำสูตรสำเร็จ สูตรแขวนลอยเข้มข้น (Flowable liquid) ของไวรัส Spodoptera litura NPV จากผลการทดลองใช้ Gum xanthan ที่อัตรา 1.0, 1.5, 2.0, 2.5 และ 3 กรัม/ไวรัส SlNPV 1 ลิตร ใช้สารช่วยแขวนลอย emulsogen ที่อัตรา 10, 20, 30, 40 และ 50 มล/ไวรัส SlNPV 1 ลิตร และ glycerine อัตรา 100, 150 และ 200 มล/SlNPV 1 ลิตร เมื่อนำมาเข้าเครื่องผสมเป็นเนื้อเดียวกัน (homogenizer) ที่ 2,000 รอบ/นาที พบว่าการใช้ Gum xanthan ที่อัตรา 2 กรัม จะให้ผลการแขวนลอยเป็นเนื้อเดียวกันดีที่สุดแต่ที่อัตรา 2.5 และ 3.0 กรัม จะทำให้สารแขวนลอยข้นเกินไป การใช้ emulsogen ช่วยแขวนลอย ที่อัตรา 10, 20 และ 30 มล/SlNPV 1 ลิตร ให้ผลการแยกชั้นได้ไม่ต่างกันที่อัตรา 40 และ 50 มล. จะแยกชั้นเมื่อเวลาอย่างรวดเร็วที่ 3 วัน การใช้ glycerine ที่อัตรา 100, 150 และ 200 มล/SlNPV 1 ลิตร ไม่เห็นความแตกต่างของแต่ละอัตราต่อการรวมตัวและแขวนลอยในระยะเวลา 1-3 วัน