คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ปฏิกิริยาของพันธุ์หน้าวัวลูกผสมต่อโรคเน่าดำ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: ปฏิกิริยาของพันธุ์หน้าวัวลูกผสมต่อโรคเน่าดำ (/showthread.php?tid=1744)



ปฏิกิริยาของพันธุ์หน้าวัวลูกผสมต่อโรคเน่าดำ - doa - 08-08-2016

ปฏิกิริยาของพันธุ์หน้าวัวลูกผสมต่อโรคเน่าดำ
อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์, พจนา ตระกูลสุขรัตน์ และพีระวรรณ วัฒนวิภาส
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ได้ทำการศึกษาปฏิกิริยาของพันธุ์หน้าวัวลูกผสมต่อโรคเน่าดำ ระหว่างเดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนกันยายน 2552 โดยสำรวจ รวบรวม และเก็บตัวอย่างโรคเน่าดำหน้าวัวจากแหล่งปลูกนำมาแยกเชื้อบริสุทธิ์ เมื่อรวมกับเชื้อที่มีอยู่ใน culture collection ได้เชื้อราสาเหตุโรคเน่าดำหน้าวัวจำนวน 6 ไอโซเลท จากจังหวัดลำปาง 2 ไอโซเลท จากภูเก็ต กรุงเทพ ปราจีนบุรี และนครปฐม จังหวัดละ 1 ไอโซเลท ได้จำแนกชนิดของรา Phytophthora สาเหตุโรคเน่าดำหรือ Phytophthora rot ของหน้าวัว คือ รา P. parasitica ราสาเหตุโรคเน่าดำหน้าวัวไอโซเลทที่รุนแรงที่สุด คือ ไอโซเลท 46-An-Ba K 1 L จาก อ.มีนบุรี กรุงเทพฯ เมื่อนำมาศึกษาปฏิกิริยาของพันธุ์หน้าวัวลูกผสมต่อโรคเน่าดำปลูกเชื้อแก่ใบหน้าวัวพันธุ์/สายพันธุ์ต่างๆ โดยวิธี detached leaf พบพืชต้านทานโรคปานกลางจำนวน 7 พันธุ์/สายพันธุ์ ได้แก่ เปลวเทียน, ผกามาศ, Hc–034, cot Lady Beth, Montana, นาไก และแสงเทียน