ทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญในถั่วเขียว - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27) +--- เรื่อง: ทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญในถั่วเขียว (/showthread.php?tid=1734) |
ทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญในถั่วเขียว - doa - 08-08-2016 ทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญในถั่วเขียว สุเทพ สหายา และบุญทิวา วาทิรอยรัมย์ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญในถั่วเขียว โดยมีแมลงเป้าหมาย คือ หนอนเจาะฝักถั่วแต่พบการระบาดต่ำและไม่สม่ำเสมอไม่สามารถทดลองได้ จึงปรับแผนการทดลองทดสอบกับมวนเขียวข้าวซึ่งพบการระบาดมาก ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2551 – กันยายน 2552 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 9 กรรมวิธี คือ การพ่นสาร thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247 ZC 14.1/10.6 %ZC), emamectin benzoate (Proclaim 1.92 %EC), fipronil (Ascend 5 %SC), lambdacyhalothrin (Karate Zeon 2.5 %CS), deltamethrin (Decis 3 %EC), etofenprox (Trebon 20 %EC), spinosad (Success 12 %SC) และ triazophos (Hostathion 40 %EC) อัตรา 10, 10, 20, 20, 20, 50, 10 และ 50 กรัมหรือมิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ และกรรมวิธีไม่พ่นสาร ผลพบว่า การพ่นสารที่มีแนวโน้มในการป้องกันกำจัดมวนเขียวข้าวในถั่วเขียว ได้แก่ thiamethoxam/lambdacyhalothrin, emamectin benzoate, fipronil, lambdacyhalothrin, deltamethrin และ etofenprox ซึ่งมีประสิทธิภาพเทียบเท่าถึงดีกว่า triazophos ซึ่งเป็นสารเปรียบเทียบ ส่วน spinosad แม้ว่าหลังพ่นสาร 7 วัน พบมวนเขียวข้าวไม่แตกต่างทางสถิติกับ triazophos แต่ที่หลังพ่นสาร 3 และ 5 วัน พบปริมาณมวนเขียวข้าวยังสูง อาจเป็นเพราะสาร spinosad เป็นสารที่ออกฤทธิ์ช้า อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องทดลองซ้ำ เพื่อยืนยันผลการทดลอง เนื่องจากการทดลองนี้มีการพ่นสารเพียงครั้งเดียวเพราะพบการระบาดใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว
|