คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญของ กะเพราและโหระพา - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: การทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญของ กะเพราและโหระพา (/showthread.php?tid=1732)



การทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญของ กะเพราและโหระพา - doa - 08-08-2016

การทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญของ กะเพราและโหระพา
สุเทพ สหายา และเตือนจิตต์ สัตยาวิรุทธ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญในกะเพราและโหระพามีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองหาสารเพื่อแนะนำเกษตรกรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญในกะเพราและโหระพาซึ่งยังไม่เคยมีคำแนะนำ ดำเนินการที่แปลงเกษตรกรอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานีระหว่างปี 2550 - 2552 แยกเป็น 2 การทดลอง 

**การทดลองที่ 1 ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในกะเพราและโหระพา** วางแผนการทดลองแบบ RCB 3 ซ้ำ มี 8 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสารชนิดและอัตราดังนี้
1) white oil (Vite oil 67 %EC) อัตรา 100 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร 
2) petroleum oil (SK99 83.9 %EC) อัตรา 100 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร 
3) imidacloprid (Provado 70 %WG) อัตรา 2 กรัม/น้ำ 20 ลิตร 
4) fipronil (Ascend 5 %SC) อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร 
5) dinotefuran (Starkle10 % WP) อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร 
6) emamectin benzoate (Proclaim1.92 %EC) อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร 
7) dinotefuran + white oil อัตรา 5 กรัม+50 มล./น้ำ 20 ลิตร 
8) ไม่พ่นสารฆ่าแมลง 

ดำเนินการในแปลงปลูกโหระพาของเกษตรกรที่ปลูกบนร่องกว้าง 4 เมตร แบ่งเป็นแปลงย่อยขนาด 2 x 4 เมตร จำนวน 24 แปลงย่อย สำรวจการระบาดของแมลงศัตรูชนิดต่างๆ บนโหระพาหลังตัดยอดประมาณ 7 วัน พบการระบาดของเพลี้ยไฟ 2 ชนิด คือ Bathrips melanicornis (Shumsher) และ Dorcadothrips sp. ผลสรุปได้ว่าสารที่มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในโหระพา ไก้แก่ fipronil รองลงมาคือ imidacloprid และ emamectin benzoate ส่วน white oil มีประสิทธิภาพปานกลาง 

**การทดลองที่ 2 ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้ายในกะเพราและโหระพา** วางแผนการทดลองแบบ RCB 3 ซ้ำ มี 8 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสารชนิดและอัตราดังนี้ 
1) lambdacyhalothrin (Karate Zeon 2.5 %CS) อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร 
2) gammacyhalothrin (Proaxis 1.5 %CS) อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร 
3) methoxyfenozide (Prodigy 24 %SC) อัตรา 10มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร 
4) emamectin benzoate (Proclaim1.92 %EC) อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร 
5) fipronil (Ascend 5 %SC) อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร 
6) lufenuron (Math 5 %EC) อัตรา 10 มิลลิลิตร 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร 
7) Bacillus thuringiensis (Bactospene FC) อัตรา 100 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร 
8) ไม่พ่นสารฆ่าแมลง 

          ผลสรุปได้ว่าสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้ายในกะเพรา ได้แก่ fipronil (Ascend 5 %SC), emamectin benzoate (Proclaim 1.92 %EC), lufenuron (Math 5 %EC) และ methoxyfenozide (Prodigy 24 %SC) อัตรา 20, 10, 10 และ 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ส่วน lambdacyhalothrinl (Karate Zeon 2.5%CS) gammacyhalothrin (Proaxis 1.5 %CS) และ Bacillus thuringiensis (Bactospene FC) อัตรา 20, 20 และ 100 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพปานกลาง สามารถแนะนำสารชนิดและอัตราดังกล่าวข้างต้นในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้ายในกะเพรา หรือโหระพาได้