การทดสอบประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงในป้องกันกำจัดหนอนเจาะฝักถั่วเหลือง - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27) +--- เรื่อง: การทดสอบประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงในป้องกันกำจัดหนอนเจาะฝักถั่วเหลือง (/showthread.php?tid=1731) |
การทดสอบประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงในป้องกันกำจัดหนอนเจาะฝักถั่วเหลือง - doa - 08-08-2016 การทดสอบประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงในป้องกันกำจัดหนอนเจาะฝักถั่วเหลือง สุเทพ สหายา, บุญทิวา วาทิรอยรัมย์ และเตือนจิตต์ สัตยาวิรุทธ์ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดหนอนเจาะฝักถั่วเหลืองแต่พบการระบาดต่ำไม่สามารถทดลองได้ จึงปรับแผนการทดลองทดสอบกับมวนศัตรูถั่วเหลืองซึ่งพบการระบาดมาก ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ระหว่างเดือนมกราคม 2550 – กันยายน 2552 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 9 กรรมวิธี คือ การพ่นสาร acetamiprid (Molan 20 %SP), buprofezin (Napam 40%SC), thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247 ZC 14.1/10.6%ZC), lambdacyhalothrin (Karate Zeon 2.5 %CS), gammacyhalothrin (Proaxis 1.5%CS), imidacloprid (Provado 70 %WG), fipronil (Ascend 5 %SC) และ triazophos (Hostathion 40 %EC) อัตรา 10, 30, 5, 20, 20, 2, 20 และ 50 กรัมหรือมิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับและกรรมวิธีไม่พ่นสาร ผลพบว่า การพ่นสารที่มีประสิทธิภาพดี ได้แก่ lambdacyhalothrin, gammacyhalothrin, thiamethoxam/lamdacyhalothrin และ fipronil ส่วน acetamiprid, imidacloprid และ buprofezin มีประสิทธิภาพปานกลาง ซึ่งสารทุกชนิดดังกล่าวข้างต้นมีประสิทธิภาพเทียบเท่าถึงดีกว่าสารฆ่าแมลง triazophos อัตรา 50 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ที่ใช้เป็นสารเปรียบเทียบในครั้งนี้
|