คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของเชื้อรา Guignardia citricarpa สาเหตุโรคจุดดำของ ส้มโอ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของเชื้อรา Guignardia citricarpa สาเหตุโรคจุดดำของ ส้มโอ (/showthread.php?tid=1725)



ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของเชื้อรา Guignardia citricarpa สาเหตุโรคจุดดำของ ส้มโอ - doa - 08-08-2016

ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของเชื้อรา Guignardia citricarpa สาเหตุโรคจุดดำของ ส้มโอ : การเข้าทำลายของรา Guignardia citricarpa สาเหตุโรคจุดดำของส้มโอ
สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ, พรพิมล อธิปัญญาคม, ศรีสุรางค์ ลิขิตเอกราช, ชนินทร ดวงสะอาด และธารทิพย ภาสบุตร
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          จากการทดลองเพื่อให้ทราบช่วงเวลาการเข้าทำลายผลส้มโอของรา G. citricarpa สาเหตุโรคจุดดำ โดยทดลองกรรมวิธีต่างๆ คือ เปิดถุงห่อผลเพื่อให้เชื้อรามีโอกาสได้เข้าสู่ผล เมื่อผลส้มโออายุ 0, 15, 30, 45, 60, 75, 90 และ 105 วัน กรรมวิธีควบคุมที่ห่อผลตลอดเวลาการทดลอง และกรรมวิธีที่ไม่ห่อผล ผลการประเมินการเกิดโรคจุดดำบนผลส้มโอหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตในปีที่ 1 (พ.ศ. 2551) พบว่า กรรมวิธีที่ 5 เปิดถุงห่อผลเมื่อผลส้มโออายุ 60 วัน และกรรมวิธีที่ 10 ไม่ห่อผลส้มโอ พบการเกิดโรค 2 และ 70 เปอร์เซ็นต์ และความรุนแรงของโรคเฉลี่ยระดับ 1 และ 3 ตามลำดับ ส่วนกรรมวิธีอื่นๆ ไม่พบการเกิดโรค และในปีที่ 2 (พ.ศ. 2552) พบว่า กรรมวิธีที่ 1 เปิดถุงห่อผลเมื่อผลส้มโออายุ 0 วัน กรรมวิธีที่ 2 เปิดถุงห่อผลเมื่อผลส้มโออายุ 15 วัน กรรมวิธีที่ 5 เปิดถุงห่อผลเมื่อผลส้มโออายุ 60 วัน และกรรมวิธีที่ 10 ไม่ห่อผลส้มโอพบการเกิดโรค 5, 1, 2 และ 10 เปอร์เซ็นต์ และความรุนแรงของโรคเฉลี่ยระดับ 1, 1, 1 และ 3 ตามลำดับ ส่วนกรรมวิธีอื่นๆ ไม่พบการเกิดโรค สรุปผลการทดลองในเบื้องต้นได้ว่าเชื้อรา G. citricarpa มีโอกาสเข้าทำลายผลส้มโอตั้งแต่กลีบดอกร่วง จนถึงผลส้มโออายุ 60 วัน เพื่อความถูกต้องของผลการทดลองจึงทำการทดลองต่อในปีที่ 3