การประเมินสายพันธุ์เห็ดต่งฝนเพื่อการใช้ประโยชน์ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27) +--- เรื่อง: การประเมินสายพันธุ์เห็ดต่งฝนเพื่อการใช้ประโยชน์ (/showthread.php?tid=1723) |
การประเมินสายพันธุ์เห็ดต่งฝนเพื่อการใช้ประโยชน์ - doa - 08-08-2016 การประเมินสายพันธุ์เห็ดต่งฝนเพื่อการใช้ประโยชน์ สุวลักษณ์ ชัยชูโชติ และอัจฉรา พยัพพานนท์ กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช เก็บรวบรวมเส้นใยเห็ดจากแหล่งต่างๆ ได้อีก 1 ตัวอย่าง (005) รวมเป็นเห็ดต่งฝนสายพันธุ์ทดสอบ จำนวน 5 ตัวอย่าง เมื่อทดสอบการเจริญของเส้นใยเห็ดสายพันธุ์ที่รวบรวมได้ใหม่ที่อุณหภูมิต่างๆ กัน บนอาหารพีดีเอพบว่า เส้นใยเจริญได้ที่อุณหภูมิ 15, 20, 25 และ 30 องศาเซลเซียส แตกต่างกัน แต่เส้นใยไม่เจริญที่ 35 และ 40 องศาเซลเซียส ลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่มองเห็นด้วยตาเปล่าพบว่า ดอกมีลักษณะรูปกรวยตื้นจนถึงกรวยลึก สีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอ่อนอมเหลืองหรือน้ำตาลอมเทา มีเกล็ด ก้านมีลักษณะกว้างตอนบนแล้วเรียวเล็กลงไปที่โคนซึ่งมีลักษณะเป็นราก มีขนหรือเกล็ด สีเดียวกับหมวกหรือเข้มกว่า สปอร์เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์พบมีลักษณะทรงรี และภาพพิมพ์สปอร์สีขาวหรือขาวนวล และเมื่อทดสอบการเจริญของเส้นใยและการเกิดดอกบนวัสดุเพาะของเห็ดต่งฝนทั้ง 5 ตัวอย่าง จำนวน 4 ครั้งพบว่า เส้นใยเห็ด 3 ตัวอย่างให้ผลผลิตได้
|