การควบคุมโรครากเน่าและโคนเน่าของส้มโอโดยเชื้อราไตรโคเดอร์มา - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27) +--- เรื่อง: การควบคุมโรครากเน่าและโคนเน่าของส้มโอโดยเชื้อราไตรโคเดอร์มา (/showthread.php?tid=1721) |
การควบคุมโรครากเน่าและโคนเน่าของส้มโอโดยเชื้อราไตรโคเดอร์มา - doa - 08-05-2016 การควบคุมโรครากเน่าและโคนเน่าของส้มโอโดยเชื้อราไตรโคเดอร์มา สุพัตรา อินทวิมลศรี กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช โรครากเน่าโคนเน่าของส้มโอ พบระบาดทั่วไปในแหล่งปลูกส้มโอ เช่น สมุทรสงคราม ชัยนาท ตราด พิจิตร เชื้อราสาเหตุ คือ Phytophthora parasitica โรครากเน่าจะเห็นแผลบริเวณโคนต้นระดับผิวดิน และจะลุกลามเหนือดินและใต้ดิน ดินบริเวณนั้นเมื่อนำมาตรวจในห้องปฏิบัติการก็จะพบอาการโคนเน่าเละเมื่อขุดรากที่อยู่ผิวดินรากจะมีการเน่าเปื่อยทั้งรากฝอยและรากแขนงพบเชื้อทั้งที่รากและดินบริเวณที่เกิดรากเน่านั้น แปลงทดลองโรครากเน่าส้มโอที่สวนเกษตรกร ต.เที่ยงแท้ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท แสดงอาการผลร่วง ใบเขียวซีด รากเปื่อยยุ่ย เก็บตัวอย่างดินจำนวน 37 ตัวอย่าง พบเชื้อ P. parasitica ทุกต้นตรวจให้วิธีใช้เหยื่อล่อ (Baiting technique) และใต้พัฒนาการเชื้อรา Trichoderma ที่สามารถขยายเชื้อได้ในบริเวณมากและใส่เชื้อรา Trichoderma ชนิดสด บริเวณทรงพุ่มพร้อมใช้จำนวน 15 กิโลกรัม/ต้น และโรยทับด้วยรำข้าว เปรียบเทียบกับกรรมวิธีใช้สารเมทาแลคซิล 25 %WP และไม่ใช้สารยังพบเชื้อราสาเหตุโรครากเน่าทุกกรรมวิธี
|